Friday, March 27, 2009

รวมลิงค์ข่าวจากทั่วโลก ที่นำเสนอ การชุมนุมของคนเสื้อแดง 26 มีนาคม 2552


แม้ว่า ข่าวทางสื่อกระแสหลักในไทย ส่วนใหญ่ ไม่ได้นำเสนอ ข่าวการชุมนุม ภาพการชุมนุม มากนัก แต่ในสำนักข่าวต่างประเทศ แทบจะทั่วโลก มีการนำเสนอและลงภาพ คลิป เช่น BBC Washington Post, CNN, Al-jazeera, ในเวบข่าวของประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเมีซีย สิงค์โลปร์ เช่น the star Utusan Berita Harian ของมาเลเซีย เป็นต้น ทางเวบ Thai Red Malaysia ได้รวบรวมลิงค์ข่าวที่เกี่ยวข้องบางส่วน (ยังมีอีกหลายเวบ) เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าไปอ่าน....

From BBC:

http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7965319.stm

From Washinton Post :

http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2009/03/27/AR2009032700134.html

From Sydney morning herald:

http://news.smh.com.au/breaking-news-world/exiled-thaksin-calls-thai-protesters-20090327-9cqv.html

From Irish time:

http://www.irishtimes.com/newspaper/breaking/2009/0327/breaking11.htm

From The star Malaysia:

http://thestar.com.my/news/story.asp?file=/2009/3/27/worldupdates/2009-03-27T132504Z_01_NOOTR_RTRMDNC_0_-387391-1&sec=Worldupdates

From Straits time Singapore:

http://www.straitstimes.com/Breaking%2BNews/SE%2BAsia/Story/STIStory_355316.html

From Bernama:

http://www.bernama.com.my/bernama/v5/newsworld.php?id=399620

From Al Jazeera:

http://english.aljazeera.net/news/asia-pacific/2009/03/20093267385496490.html

From CNN:

http://edition.cnn.com/2009/WORLD/asiapcf/03/26/thailand.protests/index.html

From Berita Harian (ภาษา Malay):

http://www.bharian.com.my/Current_News/BH/Friday/Dunia/20090326234505/Article/indexworld_html

Thursday, March 26, 2009

บทความ คุณอาคม ซิดนีย์ ตอนที่ 6

ตอนที่ ๖

๑๙ กรกฏาคม ๒๕๕๐

แก๊งองคมนตรี

โดย อาคม ซิดนีย์



หลักฐานเกี่ยวกับตำแหน่งองคมนตรี ผมได้พยายามสืบค้นตามแหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่ปรากฏ เป็นที่ชัดเจนว่าได้เกิดขึ้นเมื่อไรในประเทศสยาม จะมีก็แต่หลักฐานอ้างอิงชิ้นเล็กๆ พอที่จะอนุมาน ได้ว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมีที่ปรึกษาในพระองค์แต่ในเวลานั้นจะใช้คำว่า ปรีวีเคาน์ซิล” (Privy council) จนกระทั่งมาพบรายงานการประชุมเสนาบดีเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๔๓๕ (รศ ๑๑๑) จึงปรากฏมีคำว่า องคมนตรี เกิดขึ้น

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีประเพณีการแต่งตั้งองคมนตรีทุกปี ใน วันที่ ๔ เมษายน เนื่องในพระราชพิธีศรีสัจปานกาล โดยไม่มีการกำหนดจำนวนองคมนตรี แล้ว องคมนตรีต้องอยู่บนตำแหน่งจนสิ้นแผ่นดิน จึงปรากฏว่าตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏ เกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีจำนวนองคมนตรีมากถึง ๒๓๓ คน และการมีองคมนตรีมากมายนับร้อยคนนี้ ส่งผลให้ไม่สดวกต่อการเรียกประชุม

ครั้นพอถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภากรรมการองคมนตรีขึ้นตามพระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ.๒๔๗๐ และทรงเลือกผู้ทรง คุณวุฒิในด้านต่างๆ เข้ามาเป็นกรรมการองคมนตรี จำนวน ๔๐ คน ทำหน้าที่ปรึกษาข้าราชการ สภากรรมการองคมนตรีได้ปฏิบัติหน้าที่ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ส่งผลให้สภาฯ ต้องถูกยุบ คณะองคมนตรีจึงต้องพ้นจากตำแหน่งไปโดยบริยาย

ครั้นปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ในรัชการปัจจุบันได้มีประกาศแต่งตั้ง อภิรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ซึ่งในรายละเอียดผมจะไม่ขอกล่าวถึง แต่จะขอข้ามมาพูดถึงคณะองคมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.๒๕๔๐ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและ ทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นๆ ไม่เกิน ๑๘ คน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี (มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง) การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี หรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย (มาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง)

องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ดำรงตำแหน่งในองค์กร ต่างๆตามรัฐธรรมนูญ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ เป็นต้น ต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมืองและต้องไม่แสดงการฝักไฝ่ ในพรรคการเมืองใดๆ (มาตรา ๑๔) ก่อนเข้ารับหน้าที่องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระ มหากษัตริย์ (มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง)

องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากอดีตถึงปัจจุบันรวม ๔๕ ท่าน โดยองค์มนตรีท่าน แรกทรงมีพระนามว่า พล.อ.พระวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ (หม่อมเจ้าอลงกฏ สุขสวัสดิ์ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๙๒-๑๙ ธันวาคม ๒๔๙๕ สิ้นพระชนม์ในตำแหน่ง ส่วนองคมนตรีที่ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งอันดับที่ ๔๕ คือ พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุลานนท์ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘-ปัจจุบัน สำหรับคณะองคมนตรีที่มี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธาน มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๘ ท่าน (ไม่รวมประธานองคมนตรี) แต่ได้ถึงแก่อสัญกรรมไป ๓ ท่าน ในที่นี้ ผมจะนำเสนอรายนามทั้ง ๑๘ ท่าน โดยไม่ตัดทอน ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1. นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๑๘-ปัจจุบัน

2. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๐-ปัจจุบัน (เป็นครั้งที่สอง ภายหลังจากที่เคยลาออกไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปี ๒๕๑๙)

3. พล.ร.ต.หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช ๓ มีนาคม ๒๕๒๗-ปัจจุบัน

4. พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ ๒๘ พฤษจิกายน ๒๕๓๐-ปัจจุบัน

5. พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๔-ปัจจุบัน

6. นายจุลนภ สนิทวงค์ ณ.อยุธยา ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๔-ปัจจุบัน

7. พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ ๑๓ กรกฏาคม ๒๕๓๖-ปัจจุบัน

8. นายอำพล เสนาณรงค์ ๙ กันยายน ๒๕๓๖-ปัจจุบัน

9. นายจำรัส เขมะจารุ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๗-ปัจจุบัน

10. หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ ๓ ตุลาคม ๒๕๓๗-๗ เมษายน ๒๕๔๙ ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง

11. หม่อมราชวงค์เทพกมล กาวกุล ๗ สิงหาคม ๒๕๔๐-ปัจจุบัน

12. นายศักดา โมกขมรรคกุล ๖ มกราคม ๒๕๔๒-๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง

13. นายเกษม วัฒนชัย ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๔๔-ปัจจุบัน

14. นายพลากร สุวรรณรัฐ ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๔๕-ปัจจุบัน

15. นายสวัสดิ์ วัฒนายากร ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๔๕-ปัจจุบัน

16. พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖-๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ กราบบังคมทูลลาออกไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

17. นายสันติ ทักราล ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘-ปัจจุบัน

18. พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุลานนท์ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘-ปัจจุบัน

หมายเหตุ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๑ ถึง ๔ กันยายน ๒๕๔๑ จึงขึ้นดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีจนถึงปัจจุบัน

รายนามองคมนตรีที่ผมกล่าวถึงข้างต้นนี้ เพียงเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นว่าตลอดระยะเวลา ๕๘ ปี ที่ผ่านมาเรามีองคมนตรีรวมทั้งสิ้น ๔๕ ท่าน ทุกท่านได้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตจนเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนและคนทุกวงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านศาสตราจารย์อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลที่เราท่านกราบไหว้ได้ด้วยความสนิทใจ

คณะองคมนตรีทุกคณะจากอดีตจนปัจจุบัน ไม่เคยมีปรากฏว่าจะมีใครกล้าวิพากษ์วิจารย์ จวบจนกระทั่งเปรมดำรงตำแหน่งองคมนตรี ภายหลังจากการปฏิเสธเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามคำเชิญชวนของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ จึงเป็นที่จับตามองของคนทั่วไป โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในแวดวงทหาร นั่นสืบเนื่องจากเปรมเป็นองคมนตรีเพียงคนเดียวที่เข้าไป เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายนายทหารในแต่ละปีด้วยการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ในทหารในส่วนหัวของแต่ละเหล่าทัพ แบบเล่นไม่เลิก ทั้งๆ ที่หมดอำนาจหน้าที่แล้ว

ถ้าหากว่าเปรมจะโทษลิขิตฟ้าดินว่า ฟ้าประทานชีวิตให้เปรมได้มาเกิด แล้วใยต้องให้อาคม ซิดนีย์มาเกิดด้วยก็คงไม่เกินความจริงนัก เพราะทุกย่างก้าวของเปรมนั้นไม่มีก้าวย่างไหนที่ จะสามารถหลุดรอดสายตาของอาคมได้ เพราะทันทีที่รัฐบาลชวน หลีกภัย ในฐานะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโยก พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ จากผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ข้ามห้วยมาลงบนตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี ๒๕๔๑ นั้น ผมก็ฟันธงด้วยการเขียนบทความเรื่อง บิ๊กแอ๊ดไม่ได้หยุดอยู่แค่ ผบทบ.ในปีเดียวกันนั้นเอง

นอกจากนั้นแล้ว ผมยังได้ฟันธงว่าการยึดอำนาจนั้นมันส่งกลิ่นตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ แล้ว (อ่านเสียงจากออสเตรเลีย ตอนที่ ๔ เรื่อง จิ๋วตายน้ำตื้น”) และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนใน ความเป็น แก๊งองคมนตรีผมขอให้ท่านผู้อ่านกลับไปดูรายชื่อองคมนตรีที่ผมเสนอข้างต้น โดยให้เริ่มตั้งแต่นายศักดา โมกขมรรคกุล เป็นต้นมา เพราะเป็นองคมนตรีที่ได้รับการเสนอชื่อโดยเปรมเป็นคนแรก

นับจากบรรทัดนี้เป็นต้นไป ท่านผู้อ่านต้องอ่านด้วยความตั้งใจชนิดคำต่อคำนะครับ เพราะ ผมจะถอดระหัสในการเลือกสรรบุคคลเพื่อเสนอชื่อเป็นองคมนตรี ตามความต้องการของเปรมเพื่อมารองรับแผนชั่วในการยึดอำนาจ และทำลายล้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย โดยจะแยกเป็นสายอำนาจ อันประกอบด้วย

1. ตุลาการ

2. สถาบันการศึกษาชั้นสูง

3. ฝ่ายบริหาร

4. กองทัพ

๑.ตุลาการ ภายหลังจากที่สามารถโยก พล.อ.สุรยุทธ กลับเข้ามามีอำนาจในกองทัพบกเมื่อปี ๒๕๔๑ ได้สำเร็จ เปรมในฐานะประธานองคมนตรีก็เสนอชื่อ นายศักดา โมกขมรรคกุล อดีตประธานศาลฏีกา ขึ้นดำรงตำแหน่งองคมนตรี นายศักดา เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกาในปี ๒๕๓๙-๒๕๔๐ ในช่วงปีเดียวกันนี้ก็ปรากฏมีผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาชื่อนายสันติ ทักราล

นายสันติ ทักราล ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ ซึ่งเป็นห้วงเวลาคล้อยหลังจากที่ นายศักดาเป็นองคมนตรีได้เพียงปีเดียว แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับในช่วงเวลา ระหว่างที่นายสันติเป็นประธานศาลฏีกาอยู่นั้น นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ก็เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกา ที่ทำงานใกล้ชิดนายสันติ และนายชาญชัยก็ได้ขยับขึ้นเป็นประธานศาลฏีกาเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗-๓๐ กันยายน ๒๕๔๙

ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ นายสันติ ทักราล ได้รับเสนอชื่อเข้าดำรงตำแหน่งองคมนตรี ในปีเดียวกันนี้ เปรมก็เริ่มเดินสายเรียกร้องเรื่องผู้นำต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม ตามสถาบันการศึกษา จนกระทั่งวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ มีการทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ และมีการจัดตั้งรัฐบาลเถื่อนที่มี พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีก็ปรากฏมีชื่อ นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ด้วยสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งและยาวนานที่เปรมมีต่อสถาบันตุลาการ ท่านผู้อ่านจึงอย่าได้แปลกใจว่าเหตุใดอดีตสาม กกต จึงถูกตัดสินจำคุก ๔ ปี แล้วทำไมพรรคไทยรักไทยจึงถูกตัดสินให้ยุบพรรคและกรรมการพรรคถูกเพิกถอนสิทธิในทางการเมืองและ....?????

๒. สถาบันการศึกษา ภายหลังจากที่ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย ได้หันหลังให้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เปรมก็เสนอชื่อแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีและก็ยังคงบทบาทอยู่ในเวดวงการศึกษาอย่างเหนียวแน่นตราบเท่าทุกวันนี้ และที่สำคัญนายเกษมก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบบิดเบือนกระแสพระราชดำรัส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงหรือ พระบรมราโชวาทเรื่อง รู้รักสามัคคีที่นายเกษมได้ปาฐกถาหัวข้อ ปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศไทยว่ารู้คือรู้ทุกแง่มุมเกี่ยวกับการศึกษาไทย รักคือเห็นคุณค่า มีความรักความพอใจในการทำงานที่ทำและสามัคคี คือร่วมกันทำงานด้วยความจริงใจทั้งๆที่พระบรมราโชวาทดังกล่าวนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้สติ กลุ่มนายทหารที่เกิดมีความขัดแย้งกันอยู่ในเวลานั้นให้ รู้รักสามัคคี

นายเกษม วัฒนชัย เป็นองคมนตรีอีกคนที่ไม่เคยให้ความสำคัญในเรื่องกฏหมาย โดยไม่สนใจแม้กระทั่งสถานะขององคมนตรีว่า ต้องไม่เป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐและต้องไม่แสดงการฝักไฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ นายเกษม เคยพูดอันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณอยู่เป็นประจำ อีกทั้งในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ยังปรากฏมีชื่อเป็น

1. นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. นายกสภามาหวิทยาลัยอุบลราชธานี

3. นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่ราชมงคลธัญบุรี

4. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

5. อุปนายกสภามหาวิทยาลัยบูรพา

6. กรรมการบริหารและเลขาธิการมูลนิธิอานันทมหิดลและอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน

สถาบันชั้นนำอีกหนึ่งแห่งที่ท่านผู้อ่านควรให้ความสนใจ เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกับการโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ นั่นก็คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถ้าหากเปิดม่านสภามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ท่านผู้อ่านก็จะพบว่ามีกลุ่มก๊วนที่ยืนอยู่ตรงข้ามกลับพ.ต.ท.ทักษิณดังนี้

1. นายสุเมธ ตันติเวชกุล เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย

2. ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นอธิการบดี

3. นายชวน หลีกภัย เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

4. นายนพนิติ เศรษฐบุตร เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

5. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

6. นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

7. ศ.น.พ. ประเวศ วะสี เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็มีนายอำพล เสนาณรงค์ ซึ่งก็เป็นองคมนตรีที่ผูกขาดอยู่บนตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย จนมีการต่อต้านและกดดันจนต้องออกมาเปิดแถลงการณ์เปิดอก ตลอดจนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยก็เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจาก มูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ให้เป็นบุคคลตัวอย่าง ทั้งหมดล้วนแต่เป็นกลุ่มก๊วนองคมนตรี และคนใกล้ชิดเปรมซึ่งท่านผู้อ่านคงต้องสืบค้นสถาบันอื่นเพื่อหารายละเอียดเพิ่มเติมเอาเอง ผมคงไม่สามารถนำเสนอได้หมดภายในบทความนี้ได้ และดังที่ได้กล่าวมานี้ ท่านผู้อ่านคงหายสงสัยแล้วนะครับว่าเหตุใดความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่ง ผลกระทบอย่างรุนแรงและต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ทำไมจึงไม่มีนักวิชาการหรือ นักศึกษาปัญญาชนเข้าร่วมต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้กับสังคม และเรียกร้องประชาธิปไตย ดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา

๓. ฝ่ายบริหาร ภายหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นายพลากร สุวรรณรัฐ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ ผู้ซึ่งเคยผิดหวังกับตำแหน่งสูงในกระทรวงมหาดไทย เปรมก็เสนอชื่อแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีในทันทีเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๔๕ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลที่มีปัญหาข้อขัดแย้งกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เปรมกวาดเอาไปเป็นพวกเสียจนหมดสิ้น ผมเขียนมาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านโปรดได้สังเกตด้วยนะครับว่า ภายหลังจากที่มีการยึดอำนาจและปลุกผี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.)ขึ้นมานั้น นายพลากรซึ่งบัดนี้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีแล้ว ได้ใช้อิทธิพลพลักดัน ให้นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ผู้ซึ่งเป็นน้องชายไปกินตำแหน่งผู้อำนวยการ ศอบต.

ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ ท่านผู้อ่านคงเห็นแล้วนะครับว่า สายสัมพันธ์ระหว่างนายพลากรและเปรมนั้น ไม่ใช่ธรรมดาที่สามารถจะมองข้ามกันได้ ดังนั้นจึงได้อย่าแปลกใจเลยนะครับว่าเหตุใดการเคลื่อนไหวของ นปก. จึงได้ถูกขัดขวาง ไม่ว่าที่ไหน จังหวัดใด และทำให้แกนนำกลุ่มขับไล่เผด็จการหลายคนยังเข้าใจว่าเป็นบทบาทของนายอารีย์ วงค์อารียะ ซึ่งความจริงแล้ว อิทธิพลและบารมีสายการปกครองในกระทรวงมหาดไทยของบังอารีย์นั้น มันหมดไปนานแล้วครับ เพราะมันเป็นคนละยุคสมัยกัน และถ้าจะว่ากันตามหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว หากนายพลากรไม่ติดอยู่บนตำแหน่งองคมนตรี เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคงไม่ตกเป็นของนายอารีย์อย่างแน่นอน

๔. กองทัพ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี เมื่อ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ซึ่งก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ย้ายจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ขึ้นไปรอเกษียณบนตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ที่สร้างความไม่พอใจให้กับเปรมอย่างชนิดฝังใจไม่ลืม เพราะถือเป็นการลูบคม ซึ่งรายละเอียดเรื่องบทบาทในกองทัพของ พล.อ.สุรยุทธ ผมคงไม่ต้องนำเสนอ เนื่องจากเป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายแล้วว่ามีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกคนปัจจุบันที่นั่งควบตำแหน่งประธาน คมช. เพราะต่างเติบโตมาจากหน่วยบัญชาการสงครามพิ เศษ ชนิดคลานตามกันมา

ผมนำเสนอรายละเอียดเสียยืดยาวเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นที่มาที่ไป ของผังอำนาจที่เปรมได้วางไว้เมื่อตอนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานองคมนตรี และมาปรากฏชัดเจนในเวลานี้ว่า มันมีความเป็นมาเช่นไร

ถ้าหากท่านผู้อ่านไม่ลืมคงต้องจำได้ว่าความโชคร้าย ของประเทศไทยนั้นมันมีจุดเริ่มต้นจากการที่คนอย่างนายบรรหาร ศิลปอาชา สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จเมื่อปี ๒๕๓๙ และทันทีที่มีการจัดตั้งรัฐบาล มหกรรมแย่งตำแหน่งจากพวกเลือกตั้งก็เกิดขึ้น และหนักหน่วงรุนแรงจนนายบรรหารต้องมีการประกาศยุบสภาแทนที่จะลาออกตาม คำเสนอของ พล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธและนายเสนาะ เทียนทอง

ปี พ.ศ.๒๕๔๐ ประเทศไทยต้องโชคร้ายซ้ำซ้อนที่นายเสนาะ เปลี่ยนพรรคเลือกมายืนอยู่ใต้ร่มเงาพรรคความหวังใหม่ และมีโอกาศได้จัดตั้งรัฐบาล โดยมี พล.อ.เชาวลิต เป็นนายกรัฐมนตรี ในปีเดียวกันนี้เองที่ทำให้ขงเบ้งแห่งกองทัพอย่าง พล.อ.เชาวลิต ได้กลายมาเป็นของเล่นของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณและนายกร ทัพรังษี สองน้าหลานให้เป็นข่าวไม่เว้นแต่ละวัน สลับกับผลงานของรัฐมนตรีมหาดไทย ที่มีนายเสนาะเป็นผู้ดูแล ในโครงการเปิดบ่อนไก่ชน สิบล้อบรรทุก ๒๘ ตัน แล้วที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศลืมไม่ลงนั่นก็คือ หนีเมียหลวงที่เดินทางมาตามราวีขณะที่ มีการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยที่นายเสนาะนั่งเป็นประธานอยู่ จนในที่ สุดรัฐบาล พล.อ.เชาวลิต ก็มีอันต้องถึงกาลอวสานในกรณีวิกฤติเศรษฐกิจ พร้อมกับมีเสียงเรียกร้องหาพี่หาร

ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง และได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล นายชวน หลีกภัยได้เป็นนายกรัฐมนตรี ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในขณะที่เปรมก็ได้รับโปรดเกล้าขึ้นเป็นประธานองคมนตรี จึงเป็นความโชคดีของ พล.อ.สุรยุทธ ที่ได้มีโอกาสทยานขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก จากตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ แน่นอนที่สุดบุญคุณอันยิ่งใหญ่ที่จะต้องตอบแทน นั่นก็คือ

1. ค้ำยันรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ให้อยู่ครบเทอม ทั้งๆ ที่มีผลงานที่น่าอัปยศอดสูตลอดช่วงเวลาที่เป็นรัฐบาล และ

2. ต้องอยู่รับใช้เปรมที่ให้ชีวิตใหม่ในครั้งนั้นด้วยการเข้ารับ เป็นหัวหน้ารัฐบาลเถื่อนในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่กลุ่มทหารโจรหยิบยื่นให้ในเวลานี้

เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลที่ว่านอนสอนง่าย จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้กำลังยึดอำนาจให้สิ้นเปลือง เปรมจึงเริ่มมาสร้างเครื่อข่าย อำนาจเพื่อใช้ยามจำเป็นในอนาคต เปรมจึงได้เสนอชื่อแต่งตั้งนายศักดา โมกขมรรคกุล อดีตประธานศาลฏีกามาเป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๒ ภายหลังจากที่เปรม ขึ้นสู่ตำแหน่งประธานองคมนตรีไม่ถึง ๔ เดือน (เปรมเป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๑) จวบจนกระทั่งนายชวน หลีกภัยประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งก่อนกำหนดครบเทอม ด้วยมั่นใจในความได้เปรียบในการเป็นรัฐบาลรักษาการ แต่ผลเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคไทยรักไทยได้รับชัยอย่างชนิดฟ้าถล่มดินทลาย ดังนั้นแผนการยึดอำนาจจึงต้องถูกติดเบรคไว้ก่อน

ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำจัดตั้ง รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ พล.อ.สุรยุทธ ก็ยังดำรงตำแหน่ง อันทรงพลังอยู่ในกองทัพและมีอายุราชการยาวนานไปถึงปี ๒๕๔๖ แผนการยึดอำนาจจึงยังคงมีอยู่ เพียงแต่รอเวลาและโอกาสที่เหมาะสมเท่านั้นเอง ดังนั้นเมื่อ น.พ.เกษม วัฒนชัย มีปัญหาข้อขัดแย้ง และได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เปรมก็อุ้มเข้าเอวและเสนอชื่อให้โปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นองคมนตรี

ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ กองทัพมีความเห็นเป็นที่ขัดแย้งกับ รัฐบาลในกรณีปัญหาประเทศเพื่อนบ้าน จนกระทั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องออกมาปรามกองทัพว่ าอย่า โอเวอร์รีแอ๊ค” (over react ) ก่อนมาถึงจุดแตกหักถึงขั้นต้องยกโทรศัพท์ถาม พล.อ.สุรยุทธ กลางดึกว่า คุณจะปฏิวัติผมหรือก่อนที่จะมีการย้ายให้ พล.อ.สุรยุทธ ขึ้นไปรอเกษียณบนตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ปีเดียวกันนี้เองก็มีการยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาตใต้ (ศอ.บต.) ที่มีนายพลากร สุวรรณรัฐ ผู้อกหักจากตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม เปรมก็เสนอชื่อนายพลากร ขึ้นเป็นองคมนตรี พอข้ามปีอันเป็นการถึง คราวเกษียณอายุราชการของ พล.อ.สุรยุทธ ก็ถูกเสนอชื่อเป็นองคมนตรีเช่นเดียวกัน

ถึงตอนนี้ท่านผู้อ่านก็คงเห็นชัดแล้วนะครับว่า แผนการยึดอำนาจนั้นมันมีมานานแล้ว แต่หาโอกาสไม่ได้ ด้วยไม่มีข้ออ้างที่สมเหตุสมผล และยิ่งรอนานเท่าไรก็ดูเหมือนโอกาสจะริบหรี่ลงทุกที นั่นเป็นเพราะความสามารถของคนชื่อทักษิณ ที่ยิ่งนานวันก็ยิ่งเข้าไปอยู่ในหัวใจของผู้คนมากยิ่งขึ้น และนี่แหละที่ทำให้เปรมหมดความอดทนที่จะรออีกต่อไป ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เปรมจึงเสนอชื่อนายสันติ ทักราล อดีตประธานศาลฏีกามาเพิ่มศักยภาพ เพราะนายศักดานั้นพ้นวงการยุติธรรมมานานและมีปัหาเรื่องสุขภาพ ถึงตอนนี้เพื่อความชัดเจน ผมขอฉายซ้ำในส่วนขององคมนตรีที่มาจากสายตุลาการอีกครั้ง

1. นายศักดา โมกขมรรคกุล ขึ้นดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ ๖ มากราคม ๒๕๔๒ ถึง ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ (ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง) ดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกาเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๙-๓๐ กันยายน ๒๕๔๐ โดยมีนายสันติ ทักราล เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาในเวลานั้น

2. นายสันติ ทักราล ขึ้นดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘ - ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกาเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๓-๓๐ กันยายน ๒๕๔๔ โดยมีนายชายชัย ลิขิตจิตถะ เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาในเวลานั้น

3. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗-๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในรัฐบาลเถื่อน ที่มี พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๙

เมื่อเป็นเช่นนี้ กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยจึงเป็นอย่างที่เห็นนี่แหละครับท่านผู้อ่าน ดังนั้นแก๊งองคมนตรีอันประกอบด้วยนายศักดา โมกขมรรคกุล นายเกษม วัฒนชัย นายพลากร สุวรรณรัฐ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ นายสันติ ทักราล โดยมีเปรมเป็นหัวหน้า แล้วร่วมด้วยช่วยกันในการโค่นล้ม จึงสมบูรณ์แบบตามแบบฉบับเปรมาธิปไตย คือ กองทัพก็ถูกควบคุมโดยองคมนตรีสุรยุทธ กระบวนการยุติธรรมก็ไม่ต้องพิจารณาตามหลักนิติธรรม เพราะมีองคมนตรีทำหน้าที่กดทับอยู่ถึง ๒ คน ผู้ว่าถังขี้อย่างที่กลุ่ม นปก.มารายงานให้พี่น้องท้องสนามหลวง ก็มีใบสั่งจากองคมนตรีพลากร นักศึกษาปัญญาชนก็ไม่สามารถขยับเขยื่อนได้ก็ด้วย เงื่อนไขของพระราชบัญญัติสภามหาวิทยาลัย ซึ่งมีองคมนตรีและ พลพรรคนั่งอยู่บนตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเกือบทุกมหาวิทยาลัย

บทความ คุณอาคม ซิดนีย์ ตอนที่ 5

วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๐

การเมืองครอบงำการศึกษา

โดย อาคม ซิดนีย์

http://www.arkomsydney.com/Article2.htm


การโค่นล้มรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มบุคคลหลายสาขาอาชีพช่วยกันปลุกปั่นกระแสด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ จนกลายเป็นกระแสต่อต้านระบบทักษิณ การสร้างภาพและโฆษณาชวนเชื่อโดยมีจุดมุ่งหมายให้สังคมตั้งข้อรังเกียจ และเกิดความกลัวเกรงระบบดังกล่าวว่าเป็นการทำลายชาติ และต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมุ่งโจมตีนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทย จนสุดท้าย พรรคไทยรักไทยก็มีอันต้องอวสานอันเนื่องจากคำตัดสินให้ยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิ ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคจำนวนถึง ๑๑๑ คนเป็นเวลา ๕ ปี โดย คณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่มาจากคณะรัฐประหาร

การได้รับความร่วมมือจากกลุ่มบุคคลหลายสาขาอาชีพในการโค่นล้มพ.ต.ท.ทักษิณ ดัง ที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น หากฟังเพียงผิวเผินก็คงต้องยอมรับว่ามีความชอบธรรมพอ สมควร แต่ถ้าหากท่านผู้อ่านได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็จะพบว่ากลุ่มบุคคลที่มี ความพยายามในการโค่นล้มฯนั้นแม้จะดูว่ามาจากหลากหลายอาชีพและวงการต่างๆนั้น แท้จริงแล้วเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันที่ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน อันประกอบด้วยบุคคลรับใช้ใกล้ชิดฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาจากคณะองคมนตรีที่มีเปรมเป็นประธานฯ

ในที่นี้ผมจะขอยกตัวอย่างขององคมนตรีและบุคคลรับใช้ใกล้ชิดที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการรักษาอำนาจอันเป็นอำนาจนอกระบบที่ฝ่าฝืนกฏหมายให้ท่านผู้อ่านได้เห็นเป็นประจักษ์สักเพียงสามสี่ราย เพราะจำกัดด้วยเนื้อที่ ทั้งนี้เนื่องจากใน แต่ละรายที่ผมจะกล่าวถึงนี้ดำรงตำแหน่งมากมายหลายตำแหน่งและหากรวมตำแหน่งในภาคเอกชน แต่ละคนก็จะครอบครองกันหลายสิบตำแหน่ง โดยผมจะขอเริ่มจาก

ศ.น.พ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี
*
กรรมการบริหารและเลขาธิการมูลนิธิอานันทมหิดล
*
กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิพระดาบส
*
กรรมการโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
*
กรรมการโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย
*
กรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
* นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
*
นายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
*
อุปนายกสภามหาวิทยาลัยบูรพา

นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี
*
นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตร (รายละเอียดท่านผู้อ่านสืบค้นเพิ่มเติม)

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา
*
นายกสภามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
*
ได้รับการยกย่องจากมูลนิธิ รัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ให้เป็นบุคคลตัวอย่างเพื่อส่งเสริม "ความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ และจงรักภักดี" ประจำปี

นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา อดีตอธิการบดีและคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ได้รับการตัดสินให้ เป็นบุคคลตัวอย่างได้รับรางวัล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประจำปี 2539 พิธีมอบรางวัล จัดขึ้นในวันที่ 20 สิงหาคม 2540 ณ สำนักคณะกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพสำนักงานใหญ่

นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
*
นายกสมาคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
*
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยบูรพา

มีชัย ฤชุพันธ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
*
นายกสภามหาวิทยาลัยบูรพา
*
อดีตเป็นรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลเปรมทุกสมัย
*
มีอาชีพเขียนร่างกฏหมายให้รัฐบาลโจรในทุกครั้งที่มีการยึดอำนาจ
*
ผู้คิดค้นชื่อคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

นรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

ตำแหน่งในปัจจุบัน
*
กรรมการกฤษฎีกา
*
ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
*
ประธานคณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
*
ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน
*
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ต.ร.)
*
กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
*
รองประธานมูลนิธิรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
*
กรรมการสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
*
กรรมการมูลนิธิส่งเสริมการศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
*
กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างประเทศและความมั่นคงของ ประเทศ
*
สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี
*
ประธานคณะผู้ประเมินภายนอกระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ของสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน)
*
ประธานคณะผู้ประเมินภายนอกระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน)
*
กรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. .... ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
*
ประธานกรรมการบริหารสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตยมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
*
กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขอแถมอีกสักคนคือนายพลากร สุวรรณรัตน์ อดีตผู้อกหักจากตำแหน่งปลัดกระทรวง มหาดไทย เปรมก็อุ้มไปอยู่บนตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ. อศบต.) ครั้นพอตำแหน่งนี้ถูกยุบในรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เปรมก็เสนอชื่อโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี แล้วพอมีการยึดอำนาจแบบลูกผู้ชายทำลับหลัง และมีการปลุกผี อศบต.ขึ้นมาใหม่ด้วยอภินิหารเปรมเฒ่า นายพระนาย สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี น้องชายนายพลากรจึงได้ขี่ไม้เท้ากายสิทธิ์แห่งบ้านสี่เสาไปนั่งอยู่บนตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เลยทำให้มีพี่น้องในเขตพื้นที่ภาคใต้ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ล้มตายเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวันจนนับแทบไม่ทัน

เปรมไม่เคยให้ความสนใจกับความรู้สึกของประชาชนต่อการกระทำ ที่เอาแต่ใจของตัวเองเป็นใหญ่ สิ่งที่คิดและต้องการล้วนเป็นความถูกต้อง ที่ใครก็ตามไม่อาจคัดค้านหรือวิจารณ์ได้ ประเทศไทยในวันนี้จึงมีอันต้องฉิบหายย่อยยับอับปางอย่างที่เห็น การ ส่งคนของตัวเองเข้าไปมีบทบาทอยู่ในวงการศึกษาตามสถาบันต่างๆที่ได้กล่าวไว้ข้าง ต้น ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งคิดนะครับว่าอาคม ซิดนี่ย์เพี้ยน และคงมีคำถามว่ามันเกี่ยวอะไร กับการต่อสู้และช่วงชิงอำนาจกันเยู่ในเวลานี้

ถ้าหากเราย้อนอดีตดูก็จะพบว่าประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญ เป็นอย่างยิ่งที่นอกจากสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จแล้ว ยังมีคุณูประการต่อการที่ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม สถาบันแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นโรงเรียนสอนกฏหมาย ที่ทำให้ท่านปรีดี พนมยงค์ ดื่มด่ำกับความเป็นเสรีชน จนสอบได้ทุนไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส และทำให้เกิดความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ จึงได้กลับมาสู่มาตุภูมิ เข้ารับราชการอยู่ที่กระทรวงธรรมการ พร้อมกับการไปสอนวิชากฏหมายและการเมืองให้กับสถาบัน ที่เคยเรียนในอดีต ทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในเวลาอันรวดเร็วไม่ช้าท่านปรีดีก็มีลูกศิษย์ลูกหากระจายไปทั่วประเทศ พร้อมกับมีการเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนกฏหมาย มาเป็น ธรรมศาสตร์และการเมืองและกลายมาเป็นมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ในวันนี้

การที่ท่านปรีดีมีลูกศิษย์ลูกหากระจายไปทั่วประเทศ อันเกิดจากสอนและเผยแพร่วิชา กฏหมายสมัยใหม่ที่ว่าด้วยเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทยในเวลานั้น จึงเป็นที่นิยมอย่างสูงสำหรับหนุ่มสาวที่มีความคิดก้าวหน้า จนเกิดเป็นกระ แสเสรีชน จนสามารถพัฒนามาเป็นขบวนการเสรีไทย ที่ทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการเป็นประเทศผู้แพ้สงครามดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้แล้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังมีประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทอย่างสูงในการโค่นล้มระ บอบเผด็จการทหารยุคสองจอมพลผู้ยิ่งใหญ่คือถนอม กิติขจรและประภาส จารุเสถียร ในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

สถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ทางการเมืองนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เมื่อครั้งที่ท่านปรีดีมีบทบาทสูงยิ่งในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งผลให้จอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีอำนาจล้นฟ้าในเวลานั้นยังต้องหันมาให้ความสนใจสถาบันการศึกษา ด้วย การเข้าไปดำรงตำแหน่งอธิการบดีในมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ดังนั้นท่านผู้อ่านจึง อย่าได้แปลกใจว่าทำไมตำแหน่งที่สำคัญและมีอำนาจในการบริหารตามสถาบันต่างๆ จึงล้วนอุดมสมบูรณ์ไปด้วยบุคคลที่ได้ชื่อว่ารับใช้ใกล้ชิด และก็อย่าได้สงสัยนะครับว่า ก่อนหน้าที่จะมีการปล้นชิงอำนาจเกิดขึ้น ทำไมสถาบันสำคัญเกือบทุกแห่งถึงได้เชิญเปรมไปปลุกระดมภายใต้ชื่อว่าบรรยายพิเศษบ้าง ปาฐกถาบ้าง และท่านผู้อ่านก็คงจะ เข้าใจแล้วจะครับว่า ทำไมจึงมีนักวิชาการและคณาจารย์ออกมาร่วมถล่มคุณทักษิณอย่างพร้อมเพรียง แล้วก็ทำไมจึงไม่มีนักศึกษาจากสถาบันชั้นสูงออกมาร่วมรับผิดชอบต่อสังคมเหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยกฏหมายระบุ ไว้ชัดเจนครับว่ามีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย โดย เฉพาะอย่างยิ่งมีอำนาจพิจารณาดำเนินการเพื่อทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งและถอดถอนตำ แหน่งอธิการบดี

ผมว่าถึงเวลาแล้วที่นักศึกษาและปัญญาชนควรจะได้ใช้วิจารณญาณแยกแยะแล้วปลดแอกจากการถูกครอบงำให้รับรู้ข้อมูลและคำสอนที่ผิดๆจากพวกคณาจารย์ที่ขายจิต วิญญาณรับใช้เผด็จการ ด้วยการออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมร่วมกับประชาชนนับแต่บัดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกแม่โดมที่เป็นต้นแบบแห่งประชาธิปไตย จะต้องเป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย เพื่อเรียกคืนศักดิ์ศรีท่านปรีดี บิดาแห่งประชาธิปไตย ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันเป็นศาสตร์แห่งวิชาที่ว่าด้วยความเป็นธรรม

สุดท้ายนี้ผมอยากให้บุคคลที่ได้ชื่อว่ารับใช้ใกล้ชิดฯ ที่ชูความจงรักภักดีเพียงลมปาก ที่สวนทางกับการกระทำโดยสิ้นเชิงได้โปรดสำเหนียก และเบิกตาให้กว้าง อ่านดูข้อความข้างล่างนี้ว่า พวกท่านทั้งหลายโดยเริ่มตั้งแต่เฒ่าหัวหงอกที่ชื่อเปรมและลูกสมุนทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติที่ผิดต่อข้อกฏหมายหรือไม่ประการใด และขอให้ท่านผู้อ่านโปรดช่วยกันตรวจสอบด้วยว่า พวกมันทั้งหลายที่อ้างมาโดยตลอดว่าจงรักภักดีนั้นได้ปฏิบัติตนตรงตามที่ได้ถวายคำสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือไม่อย่างไร

คณะองคมนตรี

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ระบุว่าเป็นคณะบุคคลที่พระมหา กษัตริย์ ทรงเลือกและทรงแต่งตั้ง มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน ความเห็นที่ถวายต่อพระมหากษัตริย์ต้องเป็นพระราชกรณียกิจที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษาเท่านั้น การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย โดยประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีหรือให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง

วัตถุประสงค์ของมูลนิธิชัยพัฒนา

ประการแรก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริและโครงการพัฒนาอื่น ๆ โดยเน้นกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับแผนงาน หรือโครงการของรัฐที่มีอยู่แล้ว แต่จะพยายามสนับสนุน ส่งเสริม และประสานงานการดำเนินงาน เพื่อให้โครงการนั้น ๆ เกิดความสมบูรณ์และสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในกรณีที่โครงการของรัฐอาจถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบปฏิบัติบางประการ อันเป็นผลให้โครงการนั้นๆ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที เช่น ในกรณีที่อาจต้องจัดซื้อที่ดินจากราษฎรบางส่วนเพื่อดำเนินการตามโครง การแห่งหนึ่ง แต่รัฐมีงบประมาณไม่เพียงพอในการจัดซื้อ หรือมิได้ตั้งงบประมาณไว้ ทำให้โครงการล่าช้า ราษฎรได้รับความเดือดร้อน กรณีเช่นนี้ มูลนิธิชัยพัฒนาจะดำเนินการช่วยเหลือตามความเหมาะสม เพื่อให้โครงการนั้นบรรลุผลสำเร็จอย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ประการที่สอง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสงเคราะห์และช่วย เหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจและสังคม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถช่วยตนเอง และพึ่งตนเองได้

ประการที่สาม ดำเนินการในกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศชาติโดยส่วนรวม

ประการที่สี่ ร่วมมือกับส่วนราชการ และองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์หรือดำเนินการเพื่อเป็นการสนับสนุนสาธารณประโยชน์

ประการสุดท้าย มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ความมุ่งหวังที่จะสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชน ให้มีความสุขสำราญ ร่มเย็นถ้วนทั่วและมีความอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงและความเจริญของประทศ นั่นคือชัยชนะแห่งการพัฒนา

สุดท้ายนี้ผมคงไม่ต้องมีคำอธิบายในการกระทำของผู้มีอำนาจในเวลานี้นะครับว่าเป็น อย่างไร ขอให้เป็นหน้าที่ของท่านผู้อ่านใช้วิจารณญาญกันเอาเองว่า รัฐบาลเถื่อนในเวลานี้ได้ปกครองด้วยหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ กล่าวร้ายหาเรื่องและยัดเยียดข้อหาให้เขาเป็นรายวันนั้น จะเรียกได้ไหมว่าคุณธรรมและจริยธรรม แล้วคำรับประกันของเฒ่าหัวหงอกที่ว่าสุรยุทธคือคนดีที่สุดนั้นเป็นความจริงแค่ไหน ส่วนสนธิบัง และสพรั่งนั้นไม่ต้องพูด ถึงครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนธิบังคงไม่อาจหนีพ้นบ่วงกรรมในเร็ววันนี้ เพราะเวลานี้หัวหน้าโจรตัวจริงกำลังให้บำเหน็จความตายแก่มัน ด้วยการเพิ่มพูนอำนาจให้อย่างล้น ฟ้า เพื่อมันจะได้ตายเร็วขึ้นและผิดอยู่คนเดียว ที่เรียกว่าตัดตอนยังไงครับท่านผู้อ่าน มันเป็นกระบวนท่าของนักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ผมเคยเห็นมาในอดีตนั่นเอง และถ้าจะ ตั้งรับกระบวนท่านี้ ผมเห็นว่ามีอยู่วิธีเดียวนั่นก็คือ เสียงการทำลายลมปานที่บันทึกใส่เทปที่อยู่ในมือคุณทักษิณ ตอนออกมาเปิดเผยว่ามีผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ