Thursday, March 26, 2009

บทความ คุณอาคม ซิดนีย์ ตอนที่ 3

ฉบับที่ ๓

๑๐ พ.ค. ๒๕๕๐

ความพอเพียงที่ไม่เคยเพียงพอ

โดย อาคม ซิดนีย์

http://www.arkomsydney.com/Article2.htm


กระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานให้แก่พสกนิกรเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐ ซึ่งผมได้นำเสนอผ่านบท ความตอนที่ ๖ เรื่องเปรมาธิปไตยลัทธิมอมเมาสังคม” (เสียงจากออสเตรเลีย) ว่าพระ องค์ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของประชาชนอันสืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ดังนั้นพระองค์จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานปัญญาให้กับประชาชน ในเรื่องของการจับจ่ายใช้สอยให้เพียงพอกับรายได้ที่มีอยู่ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่กระแสพระราชดำรัสอันทรงคุณค่าได้ถูกกลุ่มบุคคลรับใช้ใกล้ชิดฯนำมาบิดเบือนจนเกิดเป็นความสับสนไปทั่วสังคมไทย

ดังนั้นในวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ ในปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอธิบายเพิ่มเติมว่า "พอเพียง หมายถึง พอมีพอกิน" "พอมีพอกิน ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมี พอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งให้ทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี" (หาอ่านได้จากบทความตอนที่ ๖)

เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง บทความฉบับที่ ๑ เรื่องเปรมบิดเบือนและก้าวล่วงพระราชอำนาจ” (พลังปัญญาชนคนต่างแดน) ผมได้ชี้ให้ท่านผู้อ่านได้เห็นถึงความไม่ชัดเจนของความหมายจนหาข้อสรุปไม่ได้ แต่ได้ถูกกลุ่มบุคคลรับใช้ใกล้ชิดฯพยามบิดเบือนและยัดเยียดให้ประชาชนและองค์การต่างๆต้องยอมรับและให้ความสำคัญ ถึงกับลงทุนลงแรงแยกกันเดินสายเที่ยวนำไปพูดในที่ต่างๆ ทั้งที่เรียกว่าปาฐกถาและบรรยายพิเศษ จนสร้างความสับสนจนจับต้นชนปลายไม่ถูกแม้กระทั่งทุกวันนี้ ทั้งนี้ก็เพียงเพื่อที่จะกล่าวหาว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร ไม่ตอบสนองกระแสพระราชดำรัส

สำหรับบทความเรื่อง ความพอเพียงที่ไม่เคยเพียงพอที่ผมกำลังเขียนอยู่นี้ ผมคงไม่อาจที่จะไม่เขียนถึงบุคคลรับใช้ใกล้ชิดฯที่มีส่วนร่วมขบวนการปาฐกถาว่าด้วยหลักเศรษฐ กิจพอเพียงที่เลื่อนชั้นขึ้นไปเป็น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั่นก็คือ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และ ประธานคณะ อนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง ทฤษฏีเศรษฐกิจพอ เพียงเนื่องในโอกาสพิธีครบรอบ ๘๕ ปี กำพล วัชรพล เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ ที่สำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ความตอนหนึ่งว่า

ในที่สุดก็มีการขอพระราชทานคำนิยามของปรัชญามา คือเป็นปัญหาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ มีอยู่ว่า คนเข้าใจคำว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่างๆ กัน พอจะมาพูดคุยว่าจะเอาไปประยุกต์ใช้อย่างไร บางทีต้องใช้เวลากันทั้งวันถกเถียงกันว่า ความหมายแปลว่าอะไร ในที่สุดทางสภาพัฒน์ฯ ได้ดำเนินการขอพระราชทานคำนิยามออกมา ซึ่งในหนังสือที่ผมได้นำเอามาแจกให้กับท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายในวันนี้ ก็ได้ปรากฏคำนิยามดังกล่าว ที่จริงแล้วในปี ๒๕๔๒ ที่พระราชทานคำนิยาม หนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้กรุณาเผยแพร่คำนิยามทั้งหมดไปครั้งหนึ่งแล้ว สำหรับคำนิยามอันนี้ เป็นคำนิยามที่มีสาระประมาณหน้าหนึ่ง ซึ่งก็ทำให้ยังยากอยู่สำหรับผู้ที่จะมาประยุกต์ใช้ ว่าจะสามารถเอามาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร พวกเราที่ทำการศึกษาในเรื่องนี้จึงขอมาสรุปและกลั่นออกมาให้ง่ายขึ้นไปอีก เพื่อที่ผู้ใช้หรือผู้ประยุกต์ใช้ จะได้สามารถมาใช้ได้โดยอย่างสะดวก ก็จะขออนุญาตสรุปว่าสำหรับคำนิยามที่พระราชทานมา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบ ด้วย ๓ หลักกับ ๒ เงื่อนไขท่านผู้อ่านหาอ่านได้จาก(http://www.sufficiencyeconomy.org/show.php?Id=121)

เพื่อที่ผู้ใช้หรือผู้ประยุกต์ใช้ จะได้สามารถมาใช้ได้โดยอย่างสะดวก ก็จะขออนุญาตสรุปว่าสำหรับคำนิยามที่พระราชทานมา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบ ด้วย ๓ หลักกับ ๒ เงื่อนไข

หลักที่ ๑ คือหลักของการเดินสายกลาง ไม่สุดโต่ง หลักที่ ๒ คือใช้ความรู้และเหตุผลในการตัดสินใจ คือแทนที่จะใช้อารมณ์หรือตัดสินใจ ปัจจุบันทันด่วน อาศัยความรู้ และเหตุผลในการตัดสินใจ หลักที่ ๓ คือการมีภูมิคุ้มกันจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเฉพาะจากปัจจัยที่มีการ เปลี่ยนแปลง ที่อยู่นอกเหนืออิทธิพลของเรา สรุปสั้น ๆ คืออย่าเสี่ยงเกินไป อย่าเล็งผลเลิศเกินไป อย่าโลภเกินไป

ส่วน ๒ เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขที่ ๑ คือคุณธรรม ผู้ที่ปฎิบัติหรือผู้ที่ตัดสินใจนั้นควรจะตัดสินใจด้วยคุณธรรม เช่น ความซื่อสัตย์ ความเพียร ความอดทน พูดง่ายๆ คืออย่าไปนั่งงอมือ งอเท้า แล้วหวังว่าทุกอย่างมันจะเกิดขึ้นมาอย่างดี เงื่อนไขที่ ๒ อันนี้อาจจะดูแปลกสักนิด แต่ว่าคิดแล้วเป็นเรื่องที่ดี คือ ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง ไม่ใช่เป็นความรู้จากตำราเฉย ๆ แต่เป็นความรู้ที่ได้มาจากการอาจจะมีประสบการณ์ อาจจะอาศัยความรอบคอบ ระมัดระวัง พร้อม ๆ กันไปด้วย” (ผมอ่านจนขึ้นใจแต่ก็ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจพอเพียงตรงไหน)

ดร.จิรายุ ในฐานะประธานคณะ อนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงออกมาพูดเผยแพร่เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง และมีกลุ่มบุคคลรับใช้ใกล้ ชิดฯอย่างเปรม ณ สี่เสา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย ได้ช่วยกันขยายผลด้วยการเดินสายไปปาฐกถาและบรรยายพิเศษในที่ต่างๆ ซึ่งก็พูดกันไปคนละทางจนไม่อาจหาข้อสรุปได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายสนธิ ลิ้มทองกุลนำมาประโคมโหมเพื่อเข่นฆ่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนกลายมาเป็นประเด็นคำถามของสังคมและตามมาด้วยการต่อต้านในที่สุด ทั้งหมดล้วนมีที่มาจากกลุ่มคนรับใช้ใกล้ชิดฯทั้งสิ้น

"พอเพียง หมายถึง พอมีพอกิน" "พอมีพอกิน ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมี พอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งให้ทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี" อันเป็นกระแสพระราชดำ รัสที่คนไทยทั้งประเทศได้ยินได้ฟังเมื่อคืนวันที่ ๔ ธันวามคม ๒๕๔๑ มีความชัดเจนเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนฟังด้วยความเข้าใจ จะมีก็แต่ดร.จิรายุและสภาพัฒน์ฯเท่านั้นที่ทำตัวเป็นคนเข้าใจยาก ที่ถึงกับต้องขอพระราชทานคำนิยาม แล้วคำนิยามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานก็ไม่ได้มีการนำมาเผยแพร่อย่างเปิดเผย หากแต่ได้ถูกนำไปบิดเบือนให้กลายเป็นอื่น

พวกเราที่ทำการศึกษาในเรื่องนี้จึงขอมาสรุปและกลั่นออกมาให้ง่ายขึ้นไปอีกดังที่ดร.จิรายุได้กล่าวบรรยายพิเศษข้างต้นคงเป็นหลักฐานเป็นอย่างดีว่าเป็นการสรุปและ กลั่นออกมาตามแต่ใจที่ดร.จิรายุต้องการเพียงคนเดียวเพื่อสนองตัณหาและความประสงค์บางประการของตัวเอง หรือบนตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา กษัตริย์ที่ดร.จิรายุเป็นผู้บริหารอยู่ขณะนี้นั้นกำลังมีปัญหา มีปัญหาอันเกิดจากการร้องเรียนและฟ้องร้องนับเป็นร้อยๆคดีความ ดังนั้นดร.จิรายุจึงพยายามผูกโยงในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้เกี่ยวข้องกับกระแสพระราชดำรัสว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

ถ้าพูดถึง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และหากท่านผู้อ่านได้ลองสังเกตุสักนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อค้าหรือนักธุรกิจที่มีธุรกรรมหรือทำสัญญาเช่าที่ดินเพื่อทำกินกับสำนักงานทรัพย์สินฯในอดีตที่ผ่านมานั้นไม่เคยประสบปัญหาความขัดแย้งกันถึง ขั้นต้องฟ้องร้องกันอย่างเช่นทุกวันนี้ ส่วนที่กำลังเกิดเป็นปัญหาขัดแย้งและรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นเรื่องฟ้องร้องกันอยู่ในเวลานี้นั้น คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากการบริหารและจัดการ โดยมีผลพวงมาจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี ๒๕๔๐

ผมจะขอเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านเล็กน้อยเกี่ยวกับสำนังานทรัพย์สินฯว่า ไม่มีความแตกต่างไปจากธุรกิจขนาดใหญ่ทั่วๆไปที่มีการลงทุนและถือหุ้นในธุรกิจหรือกิจการที่ทำกำไร ดังนั้นในกลุ่มธุรกิจชั้นนำทุกแห่งทั่วประเทศจึงมีชื่อสำนักงานทรัพย์สินฯเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วย ที่นอกเหนือไปจากการมีที่ดินจำนวนมากที่ให้เช่าในนามของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ภายหลังการพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๒๔ ๒๕๒๙ พอในปีถัดมาคือปีพ.ศ.๒๕๓๐ ดร.จิรายุก็ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการทรัพย์ สินส่วนพระมหากษัตริย์และตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง ในเวลาเดียวกันดร.จิรายุก็ดำรงตำแหน่งประธานและกรรมการในหลายบริษัทสำคัญในประเทศไทย รวมถึงนายกกรรมการธนาคารไทยพานิช จนผมเองก็ไม่แน่ใจว่าดร.จิรายุจะจำได้หรือไม่ในตำแหน่งต่างๆที่ตัวเองดำรงอยู่ เฉกเช่นเดียวกับเปรมและดร.สุเมธที่แต่ละคนก็ดำรงตำแหน่งในหลายต่อหลายบริษัทจนจำกันไม่หวัดไม่ไหว แต่ก็คงไม่เป็นไรเพราะนั่นเป็นความสมัครใจอันเกิดขึ้นจากนโยบายพอเพียงสำหรับคนกลุ่มนี้

ดร.จิรายุสำหรับผมแล้วคงต้องยอมรับละครับว่าเป็นคนเก่งและมีความรู้ความสามารถสูงที่หาตัวจับยากคนหนึ่งสำหรับสังคมไทย แต่บนความเก่งของดร.จิรายุก็เป็นเรื่องที่ผมอดจะเป็นห่วงไม่ได้ เพราะภายใต้การบริหารจัดการสำนักงานทรัพย์สินฯบนตำแหน่งผู้อำนวยการของดร.จิรายุตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นต้นมามีการขยายและต่อยอดจนพูดได้ว่าธุรกิจชั้นนำทั่วประเทศ (ทั้งนี้ไม่รวมต่างประเทศ) มีสำนักงานทรัพย์สินฯเข้าไปถือหุ้นอยู่ทุกแห่ง ซึ่งรายละเอียดผมคงไม่สามารถนำเสนอในบทความของผมได้หมด เพราะจำกัดด้วยเนื้อที่ (ท่านผู้อ่านคงต้องสืบค้นหาอ่านกันเอาเองว่ามีอยู่ในองค์กรธุรกิจใดบ้าง)

การเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในกลุ่มธุรกิจต่างๆ ในฐานะผู้ถือหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินฯจะมีจำนวนมากน้อยเท่าไหร่นั้น ไม่ใช่ประ เด็นที่ผมจะเขียนถึง แต่ประเด็นที่สำคัญก็คือภายหลังจากที่เกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๐และทำให้เกิดผลกระทบถึงองค์กรธุรกิจต่างๆภายในประเทศนั้น สำนักงานทรัพย์สินฯก็ย่อมต้องมีผลกระทบโดยตรงอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องสงสัยอันสืบเนื่องจากการนำเงินไปลงทุนในหลายๆกิจการที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง และทำให้สำนักงานทรัพสินฯต้องทบทวนนโยบายการลงทุนและหันมาเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพสินที่ดินที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

การเพิ่มรายได้วิธีง่ายที่สุดและได้ผลเห็นทันตาคงหนีไม่พ้นการขึ้นค่าเช่าที่ และการพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดเก็บค่าเช่าเพิ่ม ซึ่งในเวลานี้ที่ดินในส่วนที่สำนักงานทรัพย์สินฯถือครองและมีผู้เช่าที่เป็นคู่สัญญามีอยู่ถึงสามหมื่นเจ็ดพันกว่าสัญญาทั้งนี้ไม่รวมผู้เช่ารายย่อยที่เช่าช่วงต่อมาจากผู้เช่าที่ทำสัญญากับสำนักงานทรัพย์สินฯโดยตรงอีกนับแสนราย ดังนั้นจึงอย่าได้แปลกใจที่ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยาจะไม่ลืมที่จะกล่าวย้ำในทุกครั้งที่ให้สัมภาษณ์ว่าสำนักงานทรัพสินฯจะดำเนินกับผู้เช่าด้วยความเป็นธรรม คือให้ผู้เช่าต้องอยู่ได้และสำนักงานทรัพย์ สินก็ต้องอยู่ได้อันเป็นการส่งสัญญาณว่าจะมีการขึ้นค่าเช่าและขอที่ดินคืนเพื่อพัฒนานั่นเอง

ถ้าหากการขึ้นค่าเช่าและขอที่ดินคืนเพื่อพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงดังกระแสพระราชดำรัสผมเชื่อเหลือเกินครับว่าคงไม่มีปัญหาแน่นอน ส่วนทฤษฏีเศรษฐกิจพอ เพียงที่ผ่านการสรุปและกลั่นออกมาจากดร.จิรายุ กำลังเกิดปัญหาและเป็นปัญหาที่อาจมีผลกระทบกระเทือนถึงสถาบันฯซึ่งดร.จิรายุต้องมีคำอธิบายนะครับ ไม่ว่าจะเป็นกรณีพิพาทระหว่างสำนักงานทรัพย์สินฯกับผู้เช่าที่ดินย่านคลองถม คลองเตย ซอยหลังสวน ศูนย์การค้าบางกอกบาร์ซาร์ รวมทั้งข้อพิพาทเกี่ยวกับการเช่าที่ดิน ๑๒๗ ไร่บริเวณโรงเรียนเตรียมทหารเดิม ที่บริษัทพีคอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัดของนายไพโรจน์ ทุ่งทอง ผู้พัฒนาโครงการสวนลุมไนท์บาร์ซาร์แล้วนำไปให้ผู้ค้ารายย่อยเช่าต่ออีกหลายร้อยราย ที่ผมบอกว่าอาจมีผลกระทบถึงสถาบันฯ

เพราะว่าเวลานี้มีผู้เช่ารายย่อยจำนวนมากทั้งเช่าตรงและเช่าช่วงต่อจากผู้ประกอบการที่ทำสัญญาเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินฯทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นบริเวณคลองถม คลอง เตย ซอยหลังสวนหรือศูนย์การค้าบางกอกบาร์ซาร์ และที่อื่นๆต่างได้เคลื่อนไหวคัดค้านการที่สำนักงานทรัพย์สินฯจะเรียกคืนที่ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดินบริเวณโรงเรียนเตรียมทหารซึ่งสำนักงานทรัพย์สินฯมีแผนพัฒนาเป็นโครงการในเชิงพานิชขนาดใหญ่แบบ Mix Use ที่มีทั้งห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน โรงแรม และสถานบันเทิงขนาดใหญ่ตามหลัก ทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงของดร.จิรายุ

กลุ่มผู้ค้ารายย่อยได้รวมตัวกันคัดค้าน ทั้งยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมไปยังหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่สำนักงานทรัพย์สินก็เลือกที่จะใช้ไม้แข็ง โดยงัดข้อกฏหมายขึ้นต่อสู้ ด้วยการนำข้อพิพาทขึ้นฟ้องร้องในทางแพ่ง เพื่อขับไล่ผู้เช่าออกจากพื้นที่ และว่าจะดำเนินการกับผู้เช่าที่ฝ่าฝืนไม่ยอมย้ายออกด้วยการฟ้องทั้งบริษัทพีคอน ดีเวลลอปเม้นท์และผู้ค้ารายย่อยที่เช่าพื้นที่บริเวณศูนย์การค้บางกอกบาร์ซาร์ จนทำให้ผู้ค้ารายย่อยจำนวนกว่าร้อยรายรวมตัวกันในนามชาวศูนย์การค้าบางกอกบาร์ซาร์ ออกมาเรียกร้องหาความเป็นธรรม โดยระบุว่าได้รับความเดือดร้อนอย่างมากจากที่มีกลุ่มบุคคลเข้าไปรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ยังถูกข่มขู่จากคนบางกลุ่มที่แต่งกายคล้ายชุดเครื่องแบบทหารชุดลายพรางทำให้ไม่มั่นใจในชีวิตและทรัพย์สิน วิธีการดังกล่าวดูไปแล้วไม่แตกต่างไปจากวิธีการของนายชูวิทย์ในอดีต (ข้อมูลจากบทความพิเศษ หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ฉบับวันที่ ๒๐ -๒๖ พ.ศ. ๒๕๕๐ ฉบับที่ ๑๓๙๒ หน้า ๑๔ )

การที่นายอุทัยวงค์ จิรวิชัยและนายวิสุทธิ์ แสวงพิริยะกิจได้มอบหมายให้นายวรินทร์ เทียมจรัส ทนายด้านสิทธิมนุษย์ชนและสิ่งแวดล้อมยื่นฟ้องสำนักงานทรัพย์สินฯและดร.จิรายุ เนื่องเพราะได้รับความเดือดร้อนจากการที่สำนักงานทรัพย์สินฯฟ้องขับไล่ศูนย์การ ค้าบางกอกบาร์ซาร์ให้ออกจากพื้นที่ โดยต้องการให้เปิดเผยข้อมูล ๒ ประเด็นที่มีการแอบอ้างว่า มีพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์การค้าดังกล่าว และหนังสือที่สำนักงานทรัพย์สินฯมีถึงศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เกี่ยวกับการฟ้องขับไล่ผู้ค้าออกจากศูนย์การค้าบางกอกบาร์ซาร์ อันมีนัยสำคัญที่ต้องการสื่อ ความหมายถึง ทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงของดร.จิรายุที่ประกอบด้วย ๓ หลักและ ๒เงื่อนไขนั้น แท้จริงแล้วคือหลักความพอเพียงที่ไม่เคยเพียงพอนั่นเอง

เหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นผมไม่แน่ใจว่ามันสอดคล้องกับหลักข้อไหนและเงื่อนไขข้อใดในทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงดังที่ดร.จิรายุได้กล่าวบรรยายพิเศษฯ และนี่จึงเป็นที่มาสำหรับความเป็นห่วงที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้น เพราะหากคดีความที่มีการฟ้องร้องกันอยู่ในเวลานี้ระหว่างสำนักงานทรัพย์สินฯและผู้เช่า ถ้าผลแห่งการวินิฉัยของศาลตัดสินให้สำนักงานทรัพย์สินฯเป็นฝ่ายชนะ ซึ่งก็คงหลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องมีคำครหาเกิดขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ในทางกลับกันหากศาลพิจารณาและตัดสินให้สำนักงานทรัพย์สินเป็นฝ่ายแพ้คดี ก็ต้องมีผลกระทบที่ไม่ส่งผลดีต่อสถาบันฯอันเป็นที่เคารพสักการะอย่างแน่ นอน ผมจึงอยากจะถามดร.จิรายุว่าจะรับผิดชอบไหวหรือ

ความเสียหายจนเกิดเป็นผลกระทบไปสู่วงกว้าง และกลายเป็นปัญหาทางสังคมที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปเพื่อหาหนทางแก้ไขได้ ซึ่งล้วนเกิดจากฝีมือของกลุ่มบุคคลรับใช้ใกล้ชิดฯที่ประกอบด้วยทั้งด๊อกเตอร์และด๊อกเฒ่าเสียเป็นส่วนใหญ่ นี่ยังไม่นับรวมถึง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกกว่าหนึ่งหมื่นโครงการ ซึ่งคงต้องนำเสนอในโอกาสต่อไป

No comments:

Post a Comment