Thursday, March 26, 2009

บทความ คุณอาคม ซิดนีย์ ตอนที่ 5

วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๐

การเมืองครอบงำการศึกษา

โดย อาคม ซิดนีย์

http://www.arkomsydney.com/Article2.htm


การโค่นล้มรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มบุคคลหลายสาขาอาชีพช่วยกันปลุกปั่นกระแสด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ จนกลายเป็นกระแสต่อต้านระบบทักษิณ การสร้างภาพและโฆษณาชวนเชื่อโดยมีจุดมุ่งหมายให้สังคมตั้งข้อรังเกียจ และเกิดความกลัวเกรงระบบดังกล่าวว่าเป็นการทำลายชาติ และต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมุ่งโจมตีนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทย จนสุดท้าย พรรคไทยรักไทยก็มีอันต้องอวสานอันเนื่องจากคำตัดสินให้ยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิ ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคจำนวนถึง ๑๑๑ คนเป็นเวลา ๕ ปี โดย คณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่มาจากคณะรัฐประหาร

การได้รับความร่วมมือจากกลุ่มบุคคลหลายสาขาอาชีพในการโค่นล้มพ.ต.ท.ทักษิณ ดัง ที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น หากฟังเพียงผิวเผินก็คงต้องยอมรับว่ามีความชอบธรรมพอ สมควร แต่ถ้าหากท่านผู้อ่านได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็จะพบว่ากลุ่มบุคคลที่มี ความพยายามในการโค่นล้มฯนั้นแม้จะดูว่ามาจากหลากหลายอาชีพและวงการต่างๆนั้น แท้จริงแล้วเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันที่ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน อันประกอบด้วยบุคคลรับใช้ใกล้ชิดฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาจากคณะองคมนตรีที่มีเปรมเป็นประธานฯ

ในที่นี้ผมจะขอยกตัวอย่างขององคมนตรีและบุคคลรับใช้ใกล้ชิดที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการรักษาอำนาจอันเป็นอำนาจนอกระบบที่ฝ่าฝืนกฏหมายให้ท่านผู้อ่านได้เห็นเป็นประจักษ์สักเพียงสามสี่ราย เพราะจำกัดด้วยเนื้อที่ ทั้งนี้เนื่องจากใน แต่ละรายที่ผมจะกล่าวถึงนี้ดำรงตำแหน่งมากมายหลายตำแหน่งและหากรวมตำแหน่งในภาคเอกชน แต่ละคนก็จะครอบครองกันหลายสิบตำแหน่ง โดยผมจะขอเริ่มจาก

ศ.น.พ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี
*
กรรมการบริหารและเลขาธิการมูลนิธิอานันทมหิดล
*
กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิพระดาบส
*
กรรมการโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
*
กรรมการโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย
*
กรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
* นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
*
นายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
*
อุปนายกสภามหาวิทยาลัยบูรพา

นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี
*
นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตร (รายละเอียดท่านผู้อ่านสืบค้นเพิ่มเติม)

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา
*
นายกสภามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
*
ได้รับการยกย่องจากมูลนิธิ รัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ให้เป็นบุคคลตัวอย่างเพื่อส่งเสริม "ความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ และจงรักภักดี" ประจำปี

นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา อดีตอธิการบดีและคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ได้รับการตัดสินให้ เป็นบุคคลตัวอย่างได้รับรางวัล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประจำปี 2539 พิธีมอบรางวัล จัดขึ้นในวันที่ 20 สิงหาคม 2540 ณ สำนักคณะกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพสำนักงานใหญ่

นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
*
นายกสมาคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
*
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยบูรพา

มีชัย ฤชุพันธ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
*
นายกสภามหาวิทยาลัยบูรพา
*
อดีตเป็นรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลเปรมทุกสมัย
*
มีอาชีพเขียนร่างกฏหมายให้รัฐบาลโจรในทุกครั้งที่มีการยึดอำนาจ
*
ผู้คิดค้นชื่อคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

นรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

ตำแหน่งในปัจจุบัน
*
กรรมการกฤษฎีกา
*
ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
*
ประธานคณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
*
ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน
*
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ต.ร.)
*
กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
*
รองประธานมูลนิธิรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
*
กรรมการสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
*
กรรมการมูลนิธิส่งเสริมการศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
*
กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างประเทศและความมั่นคงของ ประเทศ
*
สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี
*
ประธานคณะผู้ประเมินภายนอกระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ของสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน)
*
ประธานคณะผู้ประเมินภายนอกระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน)
*
กรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. .... ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
*
ประธานกรรมการบริหารสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตยมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
*
กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขอแถมอีกสักคนคือนายพลากร สุวรรณรัตน์ อดีตผู้อกหักจากตำแหน่งปลัดกระทรวง มหาดไทย เปรมก็อุ้มไปอยู่บนตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ. อศบต.) ครั้นพอตำแหน่งนี้ถูกยุบในรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เปรมก็เสนอชื่อโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี แล้วพอมีการยึดอำนาจแบบลูกผู้ชายทำลับหลัง และมีการปลุกผี อศบต.ขึ้นมาใหม่ด้วยอภินิหารเปรมเฒ่า นายพระนาย สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี น้องชายนายพลากรจึงได้ขี่ไม้เท้ากายสิทธิ์แห่งบ้านสี่เสาไปนั่งอยู่บนตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เลยทำให้มีพี่น้องในเขตพื้นที่ภาคใต้ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ล้มตายเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวันจนนับแทบไม่ทัน

เปรมไม่เคยให้ความสนใจกับความรู้สึกของประชาชนต่อการกระทำ ที่เอาแต่ใจของตัวเองเป็นใหญ่ สิ่งที่คิดและต้องการล้วนเป็นความถูกต้อง ที่ใครก็ตามไม่อาจคัดค้านหรือวิจารณ์ได้ ประเทศไทยในวันนี้จึงมีอันต้องฉิบหายย่อยยับอับปางอย่างที่เห็น การ ส่งคนของตัวเองเข้าไปมีบทบาทอยู่ในวงการศึกษาตามสถาบันต่างๆที่ได้กล่าวไว้ข้าง ต้น ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งคิดนะครับว่าอาคม ซิดนี่ย์เพี้ยน และคงมีคำถามว่ามันเกี่ยวอะไร กับการต่อสู้และช่วงชิงอำนาจกันเยู่ในเวลานี้

ถ้าหากเราย้อนอดีตดูก็จะพบว่าประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญ เป็นอย่างยิ่งที่นอกจากสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จแล้ว ยังมีคุณูประการต่อการที่ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม สถาบันแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นโรงเรียนสอนกฏหมาย ที่ทำให้ท่านปรีดี พนมยงค์ ดื่มด่ำกับความเป็นเสรีชน จนสอบได้ทุนไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส และทำให้เกิดความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ จึงได้กลับมาสู่มาตุภูมิ เข้ารับราชการอยู่ที่กระทรวงธรรมการ พร้อมกับการไปสอนวิชากฏหมายและการเมืองให้กับสถาบัน ที่เคยเรียนในอดีต ทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในเวลาอันรวดเร็วไม่ช้าท่านปรีดีก็มีลูกศิษย์ลูกหากระจายไปทั่วประเทศ พร้อมกับมีการเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนกฏหมาย มาเป็น ธรรมศาสตร์และการเมืองและกลายมาเป็นมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ในวันนี้

การที่ท่านปรีดีมีลูกศิษย์ลูกหากระจายไปทั่วประเทศ อันเกิดจากสอนและเผยแพร่วิชา กฏหมายสมัยใหม่ที่ว่าด้วยเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทยในเวลานั้น จึงเป็นที่นิยมอย่างสูงสำหรับหนุ่มสาวที่มีความคิดก้าวหน้า จนเกิดเป็นกระ แสเสรีชน จนสามารถพัฒนามาเป็นขบวนการเสรีไทย ที่ทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการเป็นประเทศผู้แพ้สงครามดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้แล้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังมีประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทอย่างสูงในการโค่นล้มระ บอบเผด็จการทหารยุคสองจอมพลผู้ยิ่งใหญ่คือถนอม กิติขจรและประภาส จารุเสถียร ในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

สถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ทางการเมืองนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เมื่อครั้งที่ท่านปรีดีมีบทบาทสูงยิ่งในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งผลให้จอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีอำนาจล้นฟ้าในเวลานั้นยังต้องหันมาให้ความสนใจสถาบันการศึกษา ด้วย การเข้าไปดำรงตำแหน่งอธิการบดีในมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ดังนั้นท่านผู้อ่านจึง อย่าได้แปลกใจว่าทำไมตำแหน่งที่สำคัญและมีอำนาจในการบริหารตามสถาบันต่างๆ จึงล้วนอุดมสมบูรณ์ไปด้วยบุคคลที่ได้ชื่อว่ารับใช้ใกล้ชิด และก็อย่าได้สงสัยนะครับว่า ก่อนหน้าที่จะมีการปล้นชิงอำนาจเกิดขึ้น ทำไมสถาบันสำคัญเกือบทุกแห่งถึงได้เชิญเปรมไปปลุกระดมภายใต้ชื่อว่าบรรยายพิเศษบ้าง ปาฐกถาบ้าง และท่านผู้อ่านก็คงจะ เข้าใจแล้วจะครับว่า ทำไมจึงมีนักวิชาการและคณาจารย์ออกมาร่วมถล่มคุณทักษิณอย่างพร้อมเพรียง แล้วก็ทำไมจึงไม่มีนักศึกษาจากสถาบันชั้นสูงออกมาร่วมรับผิดชอบต่อสังคมเหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยกฏหมายระบุ ไว้ชัดเจนครับว่ามีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย โดย เฉพาะอย่างยิ่งมีอำนาจพิจารณาดำเนินการเพื่อทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งและถอดถอนตำ แหน่งอธิการบดี

ผมว่าถึงเวลาแล้วที่นักศึกษาและปัญญาชนควรจะได้ใช้วิจารณญาณแยกแยะแล้วปลดแอกจากการถูกครอบงำให้รับรู้ข้อมูลและคำสอนที่ผิดๆจากพวกคณาจารย์ที่ขายจิต วิญญาณรับใช้เผด็จการ ด้วยการออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมร่วมกับประชาชนนับแต่บัดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกแม่โดมที่เป็นต้นแบบแห่งประชาธิปไตย จะต้องเป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย เพื่อเรียกคืนศักดิ์ศรีท่านปรีดี บิดาแห่งประชาธิปไตย ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันเป็นศาสตร์แห่งวิชาที่ว่าด้วยความเป็นธรรม

สุดท้ายนี้ผมอยากให้บุคคลที่ได้ชื่อว่ารับใช้ใกล้ชิดฯ ที่ชูความจงรักภักดีเพียงลมปาก ที่สวนทางกับการกระทำโดยสิ้นเชิงได้โปรดสำเหนียก และเบิกตาให้กว้าง อ่านดูข้อความข้างล่างนี้ว่า พวกท่านทั้งหลายโดยเริ่มตั้งแต่เฒ่าหัวหงอกที่ชื่อเปรมและลูกสมุนทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติที่ผิดต่อข้อกฏหมายหรือไม่ประการใด และขอให้ท่านผู้อ่านโปรดช่วยกันตรวจสอบด้วยว่า พวกมันทั้งหลายที่อ้างมาโดยตลอดว่าจงรักภักดีนั้นได้ปฏิบัติตนตรงตามที่ได้ถวายคำสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือไม่อย่างไร

คณะองคมนตรี

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ระบุว่าเป็นคณะบุคคลที่พระมหา กษัตริย์ ทรงเลือกและทรงแต่งตั้ง มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน ความเห็นที่ถวายต่อพระมหากษัตริย์ต้องเป็นพระราชกรณียกิจที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษาเท่านั้น การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย โดยประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีหรือให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง

วัตถุประสงค์ของมูลนิธิชัยพัฒนา

ประการแรก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริและโครงการพัฒนาอื่น ๆ โดยเน้นกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับแผนงาน หรือโครงการของรัฐที่มีอยู่แล้ว แต่จะพยายามสนับสนุน ส่งเสริม และประสานงานการดำเนินงาน เพื่อให้โครงการนั้น ๆ เกิดความสมบูรณ์และสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในกรณีที่โครงการของรัฐอาจถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบปฏิบัติบางประการ อันเป็นผลให้โครงการนั้นๆ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที เช่น ในกรณีที่อาจต้องจัดซื้อที่ดินจากราษฎรบางส่วนเพื่อดำเนินการตามโครง การแห่งหนึ่ง แต่รัฐมีงบประมาณไม่เพียงพอในการจัดซื้อ หรือมิได้ตั้งงบประมาณไว้ ทำให้โครงการล่าช้า ราษฎรได้รับความเดือดร้อน กรณีเช่นนี้ มูลนิธิชัยพัฒนาจะดำเนินการช่วยเหลือตามความเหมาะสม เพื่อให้โครงการนั้นบรรลุผลสำเร็จอย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ประการที่สอง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสงเคราะห์และช่วย เหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจและสังคม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถช่วยตนเอง และพึ่งตนเองได้

ประการที่สาม ดำเนินการในกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศชาติโดยส่วนรวม

ประการที่สี่ ร่วมมือกับส่วนราชการ และองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์หรือดำเนินการเพื่อเป็นการสนับสนุนสาธารณประโยชน์

ประการสุดท้าย มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ความมุ่งหวังที่จะสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชน ให้มีความสุขสำราญ ร่มเย็นถ้วนทั่วและมีความอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงและความเจริญของประทศ นั่นคือชัยชนะแห่งการพัฒนา

สุดท้ายนี้ผมคงไม่ต้องมีคำอธิบายในการกระทำของผู้มีอำนาจในเวลานี้นะครับว่าเป็น อย่างไร ขอให้เป็นหน้าที่ของท่านผู้อ่านใช้วิจารณญาญกันเอาเองว่า รัฐบาลเถื่อนในเวลานี้ได้ปกครองด้วยหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ กล่าวร้ายหาเรื่องและยัดเยียดข้อหาให้เขาเป็นรายวันนั้น จะเรียกได้ไหมว่าคุณธรรมและจริยธรรม แล้วคำรับประกันของเฒ่าหัวหงอกที่ว่าสุรยุทธคือคนดีที่สุดนั้นเป็นความจริงแค่ไหน ส่วนสนธิบัง และสพรั่งนั้นไม่ต้องพูด ถึงครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนธิบังคงไม่อาจหนีพ้นบ่วงกรรมในเร็ววันนี้ เพราะเวลานี้หัวหน้าโจรตัวจริงกำลังให้บำเหน็จความตายแก่มัน ด้วยการเพิ่มพูนอำนาจให้อย่างล้น ฟ้า เพื่อมันจะได้ตายเร็วขึ้นและผิดอยู่คนเดียว ที่เรียกว่าตัดตอนยังไงครับท่านผู้อ่าน มันเป็นกระบวนท่าของนักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ผมเคยเห็นมาในอดีตนั่นเอง และถ้าจะ ตั้งรับกระบวนท่านี้ ผมเห็นว่ามีอยู่วิธีเดียวนั่นก็คือ เสียงการทำลายลมปานที่บันทึกใส่เทปที่อยู่ในมือคุณทักษิณ ตอนออกมาเปิดเผยว่ามีผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ

No comments:

Post a Comment