Thursday, March 26, 2009

บทความ คุณอาคม ซิดนีย์ ตอนที่ 6

ตอนที่ ๖

๑๙ กรกฏาคม ๒๕๕๐

แก๊งองคมนตรี

โดย อาคม ซิดนีย์



หลักฐานเกี่ยวกับตำแหน่งองคมนตรี ผมได้พยายามสืบค้นตามแหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่ปรากฏ เป็นที่ชัดเจนว่าได้เกิดขึ้นเมื่อไรในประเทศสยาม จะมีก็แต่หลักฐานอ้างอิงชิ้นเล็กๆ พอที่จะอนุมาน ได้ว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมีที่ปรึกษาในพระองค์แต่ในเวลานั้นจะใช้คำว่า ปรีวีเคาน์ซิล” (Privy council) จนกระทั่งมาพบรายงานการประชุมเสนาบดีเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๔๓๕ (รศ ๑๑๑) จึงปรากฏมีคำว่า องคมนตรี เกิดขึ้น

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีประเพณีการแต่งตั้งองคมนตรีทุกปี ใน วันที่ ๔ เมษายน เนื่องในพระราชพิธีศรีสัจปานกาล โดยไม่มีการกำหนดจำนวนองคมนตรี แล้ว องคมนตรีต้องอยู่บนตำแหน่งจนสิ้นแผ่นดิน จึงปรากฏว่าตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏ เกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีจำนวนองคมนตรีมากถึง ๒๓๓ คน และการมีองคมนตรีมากมายนับร้อยคนนี้ ส่งผลให้ไม่สดวกต่อการเรียกประชุม

ครั้นพอถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภากรรมการองคมนตรีขึ้นตามพระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ.๒๔๗๐ และทรงเลือกผู้ทรง คุณวุฒิในด้านต่างๆ เข้ามาเป็นกรรมการองคมนตรี จำนวน ๔๐ คน ทำหน้าที่ปรึกษาข้าราชการ สภากรรมการองคมนตรีได้ปฏิบัติหน้าที่ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ส่งผลให้สภาฯ ต้องถูกยุบ คณะองคมนตรีจึงต้องพ้นจากตำแหน่งไปโดยบริยาย

ครั้นปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ในรัชการปัจจุบันได้มีประกาศแต่งตั้ง อภิรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ซึ่งในรายละเอียดผมจะไม่ขอกล่าวถึง แต่จะขอข้ามมาพูดถึงคณะองคมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.๒๕๔๐ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและ ทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นๆ ไม่เกิน ๑๘ คน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี (มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง) การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี หรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย (มาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง)

องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ดำรงตำแหน่งในองค์กร ต่างๆตามรัฐธรรมนูญ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ เป็นต้น ต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมืองและต้องไม่แสดงการฝักไฝ่ ในพรรคการเมืองใดๆ (มาตรา ๑๔) ก่อนเข้ารับหน้าที่องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระ มหากษัตริย์ (มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง)

องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากอดีตถึงปัจจุบันรวม ๔๕ ท่าน โดยองค์มนตรีท่าน แรกทรงมีพระนามว่า พล.อ.พระวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ (หม่อมเจ้าอลงกฏ สุขสวัสดิ์ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๙๒-๑๙ ธันวาคม ๒๔๙๕ สิ้นพระชนม์ในตำแหน่ง ส่วนองคมนตรีที่ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งอันดับที่ ๔๕ คือ พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุลานนท์ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘-ปัจจุบัน สำหรับคณะองคมนตรีที่มี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธาน มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๘ ท่าน (ไม่รวมประธานองคมนตรี) แต่ได้ถึงแก่อสัญกรรมไป ๓ ท่าน ในที่นี้ ผมจะนำเสนอรายนามทั้ง ๑๘ ท่าน โดยไม่ตัดทอน ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1. นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๑๘-ปัจจุบัน

2. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๐-ปัจจุบัน (เป็นครั้งที่สอง ภายหลังจากที่เคยลาออกไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปี ๒๕๑๙)

3. พล.ร.ต.หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช ๓ มีนาคม ๒๕๒๗-ปัจจุบัน

4. พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ ๒๘ พฤษจิกายน ๒๕๓๐-ปัจจุบัน

5. พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๔-ปัจจุบัน

6. นายจุลนภ สนิทวงค์ ณ.อยุธยา ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๔-ปัจจุบัน

7. พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ ๑๓ กรกฏาคม ๒๕๓๖-ปัจจุบัน

8. นายอำพล เสนาณรงค์ ๙ กันยายน ๒๕๓๖-ปัจจุบัน

9. นายจำรัส เขมะจารุ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๗-ปัจจุบัน

10. หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ ๓ ตุลาคม ๒๕๓๗-๗ เมษายน ๒๕๔๙ ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง

11. หม่อมราชวงค์เทพกมล กาวกุล ๗ สิงหาคม ๒๕๔๐-ปัจจุบัน

12. นายศักดา โมกขมรรคกุล ๖ มกราคม ๒๕๔๒-๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง

13. นายเกษม วัฒนชัย ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๔๔-ปัจจุบัน

14. นายพลากร สุวรรณรัฐ ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๔๕-ปัจจุบัน

15. นายสวัสดิ์ วัฒนายากร ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๔๕-ปัจจุบัน

16. พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖-๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ กราบบังคมทูลลาออกไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

17. นายสันติ ทักราล ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘-ปัจจุบัน

18. พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุลานนท์ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘-ปัจจุบัน

หมายเหตุ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๑ ถึง ๔ กันยายน ๒๕๔๑ จึงขึ้นดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีจนถึงปัจจุบัน

รายนามองคมนตรีที่ผมกล่าวถึงข้างต้นนี้ เพียงเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นว่าตลอดระยะเวลา ๕๘ ปี ที่ผ่านมาเรามีองคมนตรีรวมทั้งสิ้น ๔๕ ท่าน ทุกท่านได้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตจนเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนและคนทุกวงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านศาสตราจารย์อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลที่เราท่านกราบไหว้ได้ด้วยความสนิทใจ

คณะองคมนตรีทุกคณะจากอดีตจนปัจจุบัน ไม่เคยมีปรากฏว่าจะมีใครกล้าวิพากษ์วิจารย์ จวบจนกระทั่งเปรมดำรงตำแหน่งองคมนตรี ภายหลังจากการปฏิเสธเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามคำเชิญชวนของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ จึงเป็นที่จับตามองของคนทั่วไป โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในแวดวงทหาร นั่นสืบเนื่องจากเปรมเป็นองคมนตรีเพียงคนเดียวที่เข้าไป เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายนายทหารในแต่ละปีด้วยการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ในทหารในส่วนหัวของแต่ละเหล่าทัพ แบบเล่นไม่เลิก ทั้งๆ ที่หมดอำนาจหน้าที่แล้ว

ถ้าหากว่าเปรมจะโทษลิขิตฟ้าดินว่า ฟ้าประทานชีวิตให้เปรมได้มาเกิด แล้วใยต้องให้อาคม ซิดนีย์มาเกิดด้วยก็คงไม่เกินความจริงนัก เพราะทุกย่างก้าวของเปรมนั้นไม่มีก้าวย่างไหนที่ จะสามารถหลุดรอดสายตาของอาคมได้ เพราะทันทีที่รัฐบาลชวน หลีกภัย ในฐานะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโยก พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ จากผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ข้ามห้วยมาลงบนตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี ๒๕๔๑ นั้น ผมก็ฟันธงด้วยการเขียนบทความเรื่อง บิ๊กแอ๊ดไม่ได้หยุดอยู่แค่ ผบทบ.ในปีเดียวกันนั้นเอง

นอกจากนั้นแล้ว ผมยังได้ฟันธงว่าการยึดอำนาจนั้นมันส่งกลิ่นตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ แล้ว (อ่านเสียงจากออสเตรเลีย ตอนที่ ๔ เรื่อง จิ๋วตายน้ำตื้น”) และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนใน ความเป็น แก๊งองคมนตรีผมขอให้ท่านผู้อ่านกลับไปดูรายชื่อองคมนตรีที่ผมเสนอข้างต้น โดยให้เริ่มตั้งแต่นายศักดา โมกขมรรคกุล เป็นต้นมา เพราะเป็นองคมนตรีที่ได้รับการเสนอชื่อโดยเปรมเป็นคนแรก

นับจากบรรทัดนี้เป็นต้นไป ท่านผู้อ่านต้องอ่านด้วยความตั้งใจชนิดคำต่อคำนะครับ เพราะ ผมจะถอดระหัสในการเลือกสรรบุคคลเพื่อเสนอชื่อเป็นองคมนตรี ตามความต้องการของเปรมเพื่อมารองรับแผนชั่วในการยึดอำนาจ และทำลายล้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย โดยจะแยกเป็นสายอำนาจ อันประกอบด้วย

1. ตุลาการ

2. สถาบันการศึกษาชั้นสูง

3. ฝ่ายบริหาร

4. กองทัพ

๑.ตุลาการ ภายหลังจากที่สามารถโยก พล.อ.สุรยุทธ กลับเข้ามามีอำนาจในกองทัพบกเมื่อปี ๒๕๔๑ ได้สำเร็จ เปรมในฐานะประธานองคมนตรีก็เสนอชื่อ นายศักดา โมกขมรรคกุล อดีตประธานศาลฏีกา ขึ้นดำรงตำแหน่งองคมนตรี นายศักดา เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกาในปี ๒๕๓๙-๒๕๔๐ ในช่วงปีเดียวกันนี้ก็ปรากฏมีผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาชื่อนายสันติ ทักราล

นายสันติ ทักราล ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ ซึ่งเป็นห้วงเวลาคล้อยหลังจากที่ นายศักดาเป็นองคมนตรีได้เพียงปีเดียว แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับในช่วงเวลา ระหว่างที่นายสันติเป็นประธานศาลฏีกาอยู่นั้น นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ก็เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกา ที่ทำงานใกล้ชิดนายสันติ และนายชาญชัยก็ได้ขยับขึ้นเป็นประธานศาลฏีกาเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗-๓๐ กันยายน ๒๕๔๙

ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ นายสันติ ทักราล ได้รับเสนอชื่อเข้าดำรงตำแหน่งองคมนตรี ในปีเดียวกันนี้ เปรมก็เริ่มเดินสายเรียกร้องเรื่องผู้นำต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม ตามสถาบันการศึกษา จนกระทั่งวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ มีการทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ และมีการจัดตั้งรัฐบาลเถื่อนที่มี พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีก็ปรากฏมีชื่อ นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ด้วยสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งและยาวนานที่เปรมมีต่อสถาบันตุลาการ ท่านผู้อ่านจึงอย่าได้แปลกใจว่าเหตุใดอดีตสาม กกต จึงถูกตัดสินจำคุก ๔ ปี แล้วทำไมพรรคไทยรักไทยจึงถูกตัดสินให้ยุบพรรคและกรรมการพรรคถูกเพิกถอนสิทธิในทางการเมืองและ....?????

๒. สถาบันการศึกษา ภายหลังจากที่ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย ได้หันหลังให้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เปรมก็เสนอชื่อแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีและก็ยังคงบทบาทอยู่ในเวดวงการศึกษาอย่างเหนียวแน่นตราบเท่าทุกวันนี้ และที่สำคัญนายเกษมก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบบิดเบือนกระแสพระราชดำรัส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงหรือ พระบรมราโชวาทเรื่อง รู้รักสามัคคีที่นายเกษมได้ปาฐกถาหัวข้อ ปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศไทยว่ารู้คือรู้ทุกแง่มุมเกี่ยวกับการศึกษาไทย รักคือเห็นคุณค่า มีความรักความพอใจในการทำงานที่ทำและสามัคคี คือร่วมกันทำงานด้วยความจริงใจทั้งๆที่พระบรมราโชวาทดังกล่าวนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้สติ กลุ่มนายทหารที่เกิดมีความขัดแย้งกันอยู่ในเวลานั้นให้ รู้รักสามัคคี

นายเกษม วัฒนชัย เป็นองคมนตรีอีกคนที่ไม่เคยให้ความสำคัญในเรื่องกฏหมาย โดยไม่สนใจแม้กระทั่งสถานะขององคมนตรีว่า ต้องไม่เป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐและต้องไม่แสดงการฝักไฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ นายเกษม เคยพูดอันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณอยู่เป็นประจำ อีกทั้งในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ยังปรากฏมีชื่อเป็น

1. นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. นายกสภามาหวิทยาลัยอุบลราชธานี

3. นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่ราชมงคลธัญบุรี

4. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

5. อุปนายกสภามหาวิทยาลัยบูรพา

6. กรรมการบริหารและเลขาธิการมูลนิธิอานันทมหิดลและอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน

สถาบันชั้นนำอีกหนึ่งแห่งที่ท่านผู้อ่านควรให้ความสนใจ เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกับการโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ นั่นก็คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถ้าหากเปิดม่านสภามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ท่านผู้อ่านก็จะพบว่ามีกลุ่มก๊วนที่ยืนอยู่ตรงข้ามกลับพ.ต.ท.ทักษิณดังนี้

1. นายสุเมธ ตันติเวชกุล เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย

2. ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นอธิการบดี

3. นายชวน หลีกภัย เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

4. นายนพนิติ เศรษฐบุตร เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

5. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

6. นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

7. ศ.น.พ. ประเวศ วะสี เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็มีนายอำพล เสนาณรงค์ ซึ่งก็เป็นองคมนตรีที่ผูกขาดอยู่บนตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย จนมีการต่อต้านและกดดันจนต้องออกมาเปิดแถลงการณ์เปิดอก ตลอดจนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยก็เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจาก มูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ให้เป็นบุคคลตัวอย่าง ทั้งหมดล้วนแต่เป็นกลุ่มก๊วนองคมนตรี และคนใกล้ชิดเปรมซึ่งท่านผู้อ่านคงต้องสืบค้นสถาบันอื่นเพื่อหารายละเอียดเพิ่มเติมเอาเอง ผมคงไม่สามารถนำเสนอได้หมดภายในบทความนี้ได้ และดังที่ได้กล่าวมานี้ ท่านผู้อ่านคงหายสงสัยแล้วนะครับว่าเหตุใดความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่ง ผลกระทบอย่างรุนแรงและต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ทำไมจึงไม่มีนักวิชาการหรือ นักศึกษาปัญญาชนเข้าร่วมต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้กับสังคม และเรียกร้องประชาธิปไตย ดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา

๓. ฝ่ายบริหาร ภายหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นายพลากร สุวรรณรัฐ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ ผู้ซึ่งเคยผิดหวังกับตำแหน่งสูงในกระทรวงมหาดไทย เปรมก็เสนอชื่อแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีในทันทีเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๔๕ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลที่มีปัญหาข้อขัดแย้งกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เปรมกวาดเอาไปเป็นพวกเสียจนหมดสิ้น ผมเขียนมาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านโปรดได้สังเกตด้วยนะครับว่า ภายหลังจากที่มีการยึดอำนาจและปลุกผี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.)ขึ้นมานั้น นายพลากรซึ่งบัดนี้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีแล้ว ได้ใช้อิทธิพลพลักดัน ให้นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ผู้ซึ่งเป็นน้องชายไปกินตำแหน่งผู้อำนวยการ ศอบต.

ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ ท่านผู้อ่านคงเห็นแล้วนะครับว่า สายสัมพันธ์ระหว่างนายพลากรและเปรมนั้น ไม่ใช่ธรรมดาที่สามารถจะมองข้ามกันได้ ดังนั้นจึงได้อย่าแปลกใจเลยนะครับว่าเหตุใดการเคลื่อนไหวของ นปก. จึงได้ถูกขัดขวาง ไม่ว่าที่ไหน จังหวัดใด และทำให้แกนนำกลุ่มขับไล่เผด็จการหลายคนยังเข้าใจว่าเป็นบทบาทของนายอารีย์ วงค์อารียะ ซึ่งความจริงแล้ว อิทธิพลและบารมีสายการปกครองในกระทรวงมหาดไทยของบังอารีย์นั้น มันหมดไปนานแล้วครับ เพราะมันเป็นคนละยุคสมัยกัน และถ้าจะว่ากันตามหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว หากนายพลากรไม่ติดอยู่บนตำแหน่งองคมนตรี เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคงไม่ตกเป็นของนายอารีย์อย่างแน่นอน

๔. กองทัพ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี เมื่อ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ซึ่งก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ย้ายจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ขึ้นไปรอเกษียณบนตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ที่สร้างความไม่พอใจให้กับเปรมอย่างชนิดฝังใจไม่ลืม เพราะถือเป็นการลูบคม ซึ่งรายละเอียดเรื่องบทบาทในกองทัพของ พล.อ.สุรยุทธ ผมคงไม่ต้องนำเสนอ เนื่องจากเป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายแล้วว่ามีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกคนปัจจุบันที่นั่งควบตำแหน่งประธาน คมช. เพราะต่างเติบโตมาจากหน่วยบัญชาการสงครามพิ เศษ ชนิดคลานตามกันมา

ผมนำเสนอรายละเอียดเสียยืดยาวเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นที่มาที่ไป ของผังอำนาจที่เปรมได้วางไว้เมื่อตอนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานองคมนตรี และมาปรากฏชัดเจนในเวลานี้ว่า มันมีความเป็นมาเช่นไร

ถ้าหากท่านผู้อ่านไม่ลืมคงต้องจำได้ว่าความโชคร้าย ของประเทศไทยนั้นมันมีจุดเริ่มต้นจากการที่คนอย่างนายบรรหาร ศิลปอาชา สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จเมื่อปี ๒๕๓๙ และทันทีที่มีการจัดตั้งรัฐบาล มหกรรมแย่งตำแหน่งจากพวกเลือกตั้งก็เกิดขึ้น และหนักหน่วงรุนแรงจนนายบรรหารต้องมีการประกาศยุบสภาแทนที่จะลาออกตาม คำเสนอของ พล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธและนายเสนาะ เทียนทอง

ปี พ.ศ.๒๕๔๐ ประเทศไทยต้องโชคร้ายซ้ำซ้อนที่นายเสนาะ เปลี่ยนพรรคเลือกมายืนอยู่ใต้ร่มเงาพรรคความหวังใหม่ และมีโอกาศได้จัดตั้งรัฐบาล โดยมี พล.อ.เชาวลิต เป็นนายกรัฐมนตรี ในปีเดียวกันนี้เองที่ทำให้ขงเบ้งแห่งกองทัพอย่าง พล.อ.เชาวลิต ได้กลายมาเป็นของเล่นของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณและนายกร ทัพรังษี สองน้าหลานให้เป็นข่าวไม่เว้นแต่ละวัน สลับกับผลงานของรัฐมนตรีมหาดไทย ที่มีนายเสนาะเป็นผู้ดูแล ในโครงการเปิดบ่อนไก่ชน สิบล้อบรรทุก ๒๘ ตัน แล้วที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศลืมไม่ลงนั่นก็คือ หนีเมียหลวงที่เดินทางมาตามราวีขณะที่ มีการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยที่นายเสนาะนั่งเป็นประธานอยู่ จนในที่ สุดรัฐบาล พล.อ.เชาวลิต ก็มีอันต้องถึงกาลอวสานในกรณีวิกฤติเศรษฐกิจ พร้อมกับมีเสียงเรียกร้องหาพี่หาร

ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง และได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล นายชวน หลีกภัยได้เป็นนายกรัฐมนตรี ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในขณะที่เปรมก็ได้รับโปรดเกล้าขึ้นเป็นประธานองคมนตรี จึงเป็นความโชคดีของ พล.อ.สุรยุทธ ที่ได้มีโอกาสทยานขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก จากตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ แน่นอนที่สุดบุญคุณอันยิ่งใหญ่ที่จะต้องตอบแทน นั่นก็คือ

1. ค้ำยันรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ให้อยู่ครบเทอม ทั้งๆ ที่มีผลงานที่น่าอัปยศอดสูตลอดช่วงเวลาที่เป็นรัฐบาล และ

2. ต้องอยู่รับใช้เปรมที่ให้ชีวิตใหม่ในครั้งนั้นด้วยการเข้ารับ เป็นหัวหน้ารัฐบาลเถื่อนในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่กลุ่มทหารโจรหยิบยื่นให้ในเวลานี้

เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลที่ว่านอนสอนง่าย จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้กำลังยึดอำนาจให้สิ้นเปลือง เปรมจึงเริ่มมาสร้างเครื่อข่าย อำนาจเพื่อใช้ยามจำเป็นในอนาคต เปรมจึงได้เสนอชื่อแต่งตั้งนายศักดา โมกขมรรคกุล อดีตประธานศาลฏีกามาเป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๒ ภายหลังจากที่เปรม ขึ้นสู่ตำแหน่งประธานองคมนตรีไม่ถึง ๔ เดือน (เปรมเป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๑) จวบจนกระทั่งนายชวน หลีกภัยประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งก่อนกำหนดครบเทอม ด้วยมั่นใจในความได้เปรียบในการเป็นรัฐบาลรักษาการ แต่ผลเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคไทยรักไทยได้รับชัยอย่างชนิดฟ้าถล่มดินทลาย ดังนั้นแผนการยึดอำนาจจึงต้องถูกติดเบรคไว้ก่อน

ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำจัดตั้ง รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ พล.อ.สุรยุทธ ก็ยังดำรงตำแหน่ง อันทรงพลังอยู่ในกองทัพและมีอายุราชการยาวนานไปถึงปี ๒๕๔๖ แผนการยึดอำนาจจึงยังคงมีอยู่ เพียงแต่รอเวลาและโอกาสที่เหมาะสมเท่านั้นเอง ดังนั้นเมื่อ น.พ.เกษม วัฒนชัย มีปัญหาข้อขัดแย้ง และได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เปรมก็อุ้มเข้าเอวและเสนอชื่อให้โปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นองคมนตรี

ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ กองทัพมีความเห็นเป็นที่ขัดแย้งกับ รัฐบาลในกรณีปัญหาประเทศเพื่อนบ้าน จนกระทั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องออกมาปรามกองทัพว่ าอย่า โอเวอร์รีแอ๊ค” (over react ) ก่อนมาถึงจุดแตกหักถึงขั้นต้องยกโทรศัพท์ถาม พล.อ.สุรยุทธ กลางดึกว่า คุณจะปฏิวัติผมหรือก่อนที่จะมีการย้ายให้ พล.อ.สุรยุทธ ขึ้นไปรอเกษียณบนตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ปีเดียวกันนี้เองก็มีการยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาตใต้ (ศอ.บต.) ที่มีนายพลากร สุวรรณรัฐ ผู้อกหักจากตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม เปรมก็เสนอชื่อนายพลากร ขึ้นเป็นองคมนตรี พอข้ามปีอันเป็นการถึง คราวเกษียณอายุราชการของ พล.อ.สุรยุทธ ก็ถูกเสนอชื่อเป็นองคมนตรีเช่นเดียวกัน

ถึงตอนนี้ท่านผู้อ่านก็คงเห็นชัดแล้วนะครับว่า แผนการยึดอำนาจนั้นมันมีมานานแล้ว แต่หาโอกาสไม่ได้ ด้วยไม่มีข้ออ้างที่สมเหตุสมผล และยิ่งรอนานเท่าไรก็ดูเหมือนโอกาสจะริบหรี่ลงทุกที นั่นเป็นเพราะความสามารถของคนชื่อทักษิณ ที่ยิ่งนานวันก็ยิ่งเข้าไปอยู่ในหัวใจของผู้คนมากยิ่งขึ้น และนี่แหละที่ทำให้เปรมหมดความอดทนที่จะรออีกต่อไป ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เปรมจึงเสนอชื่อนายสันติ ทักราล อดีตประธานศาลฏีกามาเพิ่มศักยภาพ เพราะนายศักดานั้นพ้นวงการยุติธรรมมานานและมีปัหาเรื่องสุขภาพ ถึงตอนนี้เพื่อความชัดเจน ผมขอฉายซ้ำในส่วนขององคมนตรีที่มาจากสายตุลาการอีกครั้ง

1. นายศักดา โมกขมรรคกุล ขึ้นดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ ๖ มากราคม ๒๕๔๒ ถึง ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ (ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง) ดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกาเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๙-๓๐ กันยายน ๒๕๔๐ โดยมีนายสันติ ทักราล เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาในเวลานั้น

2. นายสันติ ทักราล ขึ้นดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘ - ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกาเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๓-๓๐ กันยายน ๒๕๔๔ โดยมีนายชายชัย ลิขิตจิตถะ เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาในเวลานั้น

3. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗-๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในรัฐบาลเถื่อน ที่มี พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๙

เมื่อเป็นเช่นนี้ กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยจึงเป็นอย่างที่เห็นนี่แหละครับท่านผู้อ่าน ดังนั้นแก๊งองคมนตรีอันประกอบด้วยนายศักดา โมกขมรรคกุล นายเกษม วัฒนชัย นายพลากร สุวรรณรัฐ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ นายสันติ ทักราล โดยมีเปรมเป็นหัวหน้า แล้วร่วมด้วยช่วยกันในการโค่นล้ม จึงสมบูรณ์แบบตามแบบฉบับเปรมาธิปไตย คือ กองทัพก็ถูกควบคุมโดยองคมนตรีสุรยุทธ กระบวนการยุติธรรมก็ไม่ต้องพิจารณาตามหลักนิติธรรม เพราะมีองคมนตรีทำหน้าที่กดทับอยู่ถึง ๒ คน ผู้ว่าถังขี้อย่างที่กลุ่ม นปก.มารายงานให้พี่น้องท้องสนามหลวง ก็มีใบสั่งจากองคมนตรีพลากร นักศึกษาปัญญาชนก็ไม่สามารถขยับเขยื่อนได้ก็ด้วย เงื่อนไขของพระราชบัญญัติสภามหาวิทยาลัย ซึ่งมีองคมนตรีและ พลพรรคนั่งอยู่บนตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเกือบทุกมหาวิทยาลัย

No comments:

Post a Comment